แยกขยะช่วยโลกได้อย่างไร?

Total
0
Shares

“ขยะล้นโลก”คำนี้ฟังแล้วเหมือนจะเว่อร์ไป แต่ที่จริงแล้ว ณ ปัจจุบัน มันเป็นเช่นนั้น 

ด้วยเทคโนโลยีและความสะดวกสบายเอาไว้ก่อน ทำให้มีการนำทรัพยากรของโลกมาดัดแปลง นำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ พลาสติกที่มาจากปิโตเลียมใต้ดิน โลหะมาจากการถลุงแร่ แก้วมาจากเม็ดทราย หรือกระดาษที่มาจากการตัดต้นไม้ 

 

การได้มาสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องแลกมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น จะดีกว่าไหมหากเราแยกขยะและสามารถรีไซเคิลนำกลับมาใช้ได้อีก เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะที่กำลังเป็นปัญหาระดับโลก ลดการรบกวนทรัพยากรของโลกที่ไม่มีใครรู้ได้เลยว่าเมื่อใดที่ทรัพยากรเหล่านั้นจะไม่มีเหลือให้เราได้ใช้อีก ลดการรบกวนระบบธรรมชาติ ลดการก่อมลพิษ เพราะเมื่อมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ก็จะช่วยลดการนำวัตถุดิบจากสารบบธรรมชาติมาผลิตเพิ่มนั่นเอง 

ทำไมต้องแยกขยะ

การแยกขยะภาษาอังกฤษก็คือ sorting garbage ซึ่งการแยกขยะหมายถึง การแยกขยะก่อนทิ้งตามแต่ละประเภท คัดขยะให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อให้สะดวกต่อการคัดกรองในการนำขยะไปทำการกำจัดหรือรีไซเคิล อาจนำไปแปรรูปหรือซ่อมแซมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะลง ลดการผลิตวัสดุ ลดพลังงาน ลดมลพิษ และยังเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า โดยจะมีทั้งรูปแบบ การคัดแยกขยะ3R และ คัดแยกขยะ 5R

 

การคัดแยกขยะ 3Rs 

  • Reduce คือการลดการใช้หรือบริโภคสิ่งที่ไม่จำเป็นลง ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก เช่น การงดหรือลดในการใช้ถุงพลาสติกลง อย่างการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การนำแก้วไปใส่เครื่องดื่มแทนแก้วพลาสติก การถอดปิดไฟเมื่อไม่ใช้ เมื่อจะเดินทางไปไหนไม่ไกลก็เดินแทนการขับขี่รถ เป็นการลดใช้สิ่งของที่ไม่จำเป็น และลดการใช้พลังงานเพื่อให้มีพลังงานไว้ใช้ได้นานๆ เป็นต้น  

 

  • Reuse การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด เป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ โดยไม่ต้องแปรรูปแบบอื่น จะแตกต่างจากการรีไซเคิล เช่น ทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ การนำแก้วกาแฟพลาสติกใช้เพาะกล้าผัก การใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์จได้ ใช้กระดาษทั้งสองหน้า การนำกล่องคุ๊กกี้ใส่อุปกรณ์เข็มด้าย การนำของที่ไม่ใช้แล้วบริจาคหรือขายเป็นสินค้ามือสอง เป็นต้น 

 

  • Recycle การคัดแยกขยะและนำวัสดุมาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ อาจนำไปหลอมเป็นวัสดุเดิมหรือแปรรูปแบบอื่น เช่น การนำทองแดงไปหลอมเป็นสายไฟ นำขวด PET ไปขึ้นรูปใหม่ได้เส้นใยผลิตเป็นเสื้อผ้า พรมเช็ดเท้า กระเป๋า เครื่องประดับต่างๆ หรือการนำแก้วแตกไปหลอมเป็นขวดแก้วใบใหม่ เป็นต้น 

ส่วนการแยกขยะ 5Rs ก็จะมีเพิ่มต่อจาก 3Rs  อีก 2 ข้อ คือ 

  • Repair การซ่อมแซมหรือปรับปรุงให้สามารถนำกลับมาใช้ต่อได้ เช่น เสื้อผ้าขาดก็ปะเย็บ คอมพิวเตอร์พังก็นำไปซ่อม 

 

  • Reject / Refuse การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงในการใช้สิ่งของที่ทำลายทรัพยากรฟุ่มเฟือย บรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ หรือก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม การใช้แก้วส่วนตัวหรือกล่องอาหาร ไม่ทานอาหารเหลือ เป็นต้น 

 

ประเภทขยะได้ถูกแยกออกเป็นขยะ 4 ประเภท ได้แก่ 

 

  • ขยะทั่วไป ประเภทขยะทั่วไปที่ย่อยสลายยากและอาจไม่คุ้มต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น เศษผ้า ถุงขนม เปลือกลูกอม 

 

  • ขยะเปียก คือ ขยะย่อยสลายได้ง่าย สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพได้ เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้ เศษไม้ เป็นต้น 

 

  • ขยะแห้ง คือ ขยะย่อยสลายได้ยาก แต่สามารถเป็นขยะรีไซเคิลได้ เช่น ขวดพลาสติก กระดาษ ไม้ แก้ว โลหะ เศษผ้า ยาง เป็นต้น 

 

  • ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ขยะติดเชื้อจากผู้ป่วยหรือสถานพยาบาล เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ กระป๋องสี หลอดครีมย้อมผม หน้ากากอนามัย ผ้าซับแผล เข็มฉีดยา เป็นต้น 

 

ช่วงที่มีการรณรงค์อย่างจริงจังได้มีการผลิตถังขยะเพื่อบรรจุและแยกใส่ขยะตามแต่ละประเภทและนำไปวางไว้ตามพื้นที่สาธารณะต่างๆให้กับประชาชน ซึ่งสามารถแยกขยะตามสีของถังขยะ 4 สี ได้ดังนี้

 

  • ถังขยะสีน้ำเงิน คือ สำหรับขยะทั่วไป 
  • ถังขยะสีเหลือง คือ ถังสำหรับขยะแห้ง
  • ถังขยะสีเขียว  คือ  สำหรับขยะเปียก 
  • ถังขยะสีแดง   คือ  สำหรับขยะอันตราย

ประเภทขยะรีไซเคิล 

พลาสติก สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ 

  • พลาสติกเทอร์โมเซ็ท หรือพลาสติกที่คงรูปถาวร (Thermosetting Plastic) เป็นพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ เป็นพลาสติกที่ทำให้ขึ้นรูปทรงต่างๆโดยการทำให้แข็งตัวด้วยความร้อนแบบไม่ย้อนกลับในแม่แบบ มีความคงรูปถาวรเมื่อแข็งตัว เพราะไม่สามารถนำกลับไปหลอมได้อีก 

 

  • เทอร์โมพลาสติก (Thermosetting) เป็นพลาสติกที่หลอมด้วยความร้อน และแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิต่ำลง สามารถนำมารีไซเคิลได้ และจะมีการระบุสัญลักษณ์ไว้บนบรรจุภัณฑ์อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ง่ายต่อการแยกขวดพลาสติกและนำกลับมาใช้ใหม่ 

 

โลหะ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีดังนี้ 

  • เหล็ก ซึ่งจะใช้กันมากในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน 
  • ทองเหลือง เป็นโลหะที่มีราคาดี นำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้เป็น อุปกรณ์สุขภัณฑ์ ใบพัดเรือขนาดใหญ่ ระฆัง 
  • ทองแดง นำกลับมาหลอมทำเป็นสายไฟ 
  • สเตนเลส นำกลับมาทำเป็น ช้อน ส้อม กระทะ หม้อ 
  • ตะกั่ว นำกลับมาทำเป็นส่วนประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ฟิวส์ไฟฟ้า 

 

ขวดแก้ว ที่นำกลับมาใช้ได้อีกมี 2 แบบ 

  • ขวดแก้วที่ยังมีสภาพดี ไม่บิ่น หรือแตกหัก จะถูกนำกลับเข้าโรงงานแล้วนำไปล้างให้สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่าการรียูสนั่นเอง 
  • ขวดแก้วแตก ขวดแก้วที่มีการแตก บิ่น หรือชำรุด จะมีการคัดแยกสี ขวดแก้วใส ขวดแก้วสีชา ขวดแก้วสีเขียว แล้วนำไปผ่านกระบวนการหลอมใหม่ เป็นการรีไซเคิล 

 

กระดาษ กระดาษเป็นวัสดุที่ย่อยง่ายที่สุด เพราะผลิตจากเยื่อไม้ธรรมชาติ สามารถย่อยสลายเองได้ภายใน 25 เดือน แต่ถ้ากระดาษถูกทับถมกับขยะอื่นๆจนแน่น ไม่โดนแสงแดด อากาศและความชื้น การย่อยสลายก็อาจต้องใช้เวลาถึง 3050 ปี ดังนั้นการแยกขยะแต่ละประเภทจึงสำคัญมาก 

 

อลูมิเนียม ซึ่งจะมีอลูมิเนียมแบบหนาและอลูมิเนียมแบบบาง จำพวกอะไหล่เครื่องยนต์ ลูกสูบ กระป๋องน้ำ กระป๋องเบียร์ 

ข้อดีของการแยกขยะ 

  • เมื่อมีการแยกประเภทขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ก็จะเหลือขยะที่ต้องกำจัดทิ้งจริงๆน้อยลง 
  • ปริมาณขยะที่ต้องกำจัดมีน้อย ก็จะใช้งบประมาณในส่วนนี้น้อยลง ทำให้เหลืองบประมาณที่จะนำไปพัฒนาในด้านอื่นๆได้ 
  • ลดมลพิษทางอากาศ ลดการรบกวนระบบนิเวศธรรมชาติ 
  • ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดการใช้พลังงาน 
  • เมื่อมลพิษลดลง ภาวะโลกร้อนก็ลดลง ระบบนิเวศไม่ถูกรบกวน คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น 

 

ไม่เพียงแต่ขยะแห้งที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกก็สามารถนำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีกเช่นกัน ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องช่วยย่อยและกำจัดเศษอาหาร รวมไปถึงการทำให้เศษอาหารกลายเป็นปุ๋ยอัตโนมัติ เช่น ถังหมักปุ๋ย ถังหมักรักษ์โลก เครื่องกำจัดเศษอาหาร เป็นต้น เพื่อจัดการเศษอาหารและขยะอินทรีย์จากครัวเรือน ไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหรือปนเปื้อนขยะอื่น และสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำเป็นปุ๋ย เป็นธาตุอาหารให้ดิน พืช และต้นไม้ได้อีก เป็นการลดปริมาณขยะและก๊าซพิษอย่าง คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และไนตรัสออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเรือนกระจก จากขยะอินทรีย์ ทั้งในภาคการเกษตรและทางผู้ผลิตการอุตสาหกรรมครัวเรือน ซึ่งอาจยังไม่ขยายเป็นวงกว้างเท่าที่ควร เพราะยังไม่มีข้อกฏหมายบังคับใช้ให้มีแยกขยะในบ้านทุกครัวเรือน แต่สำหรับปัจจุบันที่โลกร้อนขึ้นทุกวัน และภูมิอากาศแปรปรวน ประกอบกับภัยธรรมชาติรอบโลกที่คอยเตือนให้เราต้องหันมาให้ความใส่ใจและร่วมมือกันอย่างเร่งด่วน 

 

แน่นอนว่าการแยกขยะมีผลดีต่อระบบนิเวศ และส่งผลดีกลับมาสู่มนุษย์อย่างเราๆทุกคน และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงควรทำการแยกขยะ แต่ก็มีอีก 5 เหตุผลที่ทำให้คนแยกขยะในปัจจุบัน 

1.แยกขยะแล้วนำไปขาย 43

 

2.ต้องการช่วยลดโลกร้อน 24%

 

3.มีจิตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำนึกในการตอบแทนโลก 13%

 

4.คัดขยะตามคนดัง 13%

 

5.เห็นใจพนักงานเก็บขยะ 7

 

แล้วเหตุผลของคุณตรงกับข้อไหนเอ่ย?

You May Also Like

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้างดน้ำตาล 14 วัน

โดยปกติร่างกายต้องการน้ำตาลเพียง 24 กรัม / วัน เท่านั้น หรือประมาณ 4-6 ช้อนชา (เทียบเท่าน้ำผลไม้ประมาณ 200 มิลลิลิตร) แต่ถ้าได้รับปริมาณที่มากไป จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง น้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  น้ำตาลธรรมชาติ ที่ได้จากผัก ผลไม้ต่างๆ (ฟรุกโตส) และน้ำตาลในนม (แล็กโทส) น้ำตาลสังเคราะห์ หรือน้ำตาลที่ปรุงแต่ง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม…
View Post

ภูเขาไฟในไทยจะมีโอกาสปะทุซ้ำหรือไม่ 

จากการเกิดภัยธรรมชาติภูเขาไฟระเบิดของภูเขาไฟตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดควันภูเขาไฟและเถ้าถ่านที่เป็นมลพิษทางอากาศ พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าไปไกลได้ถึงประมาณ 20 กิโลเมตร และเกิดคลื่นสึนามิสูงถึง 15 เมตร ซัดเข้าชายฝั่งของเกาะแมงโก้ ทำให้หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะหายไปแทบทั้งหมู่บ้าน เหตุภูเขาไฟระเบิดผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทั้งเกาะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปช่วงระยะหนึ่ง และอีกหลายประเทศที่ชายฝั่งติดมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับความเสียหายรุนแรงจากภูเขาไฟปะทุลูกนี้ แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดอยู่ห่างจากชายฝั่งของไทยไปประมาณ 9,500 กิโลเมตร แต่ก็ต้องมีการจับตามองและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด  ข่าวการเกิดภูเขาไฟหลายแห่งที่ยังคุกรุ่นอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ “วงแหวนแห่งไฟ” ที่หลายๆคนรู้จักกันดี ซึ่งมากกว่าร้อยละ 75% ของภูเขาไฟทั้งหมดบนโลก…
View Post

รวมอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ สไตล์ล้านนา ลำแต้ๆ

เมนูอาหารภาคเหนือ ที่ใครๆหลายคนชื่นชอบ บางคนอาจคุ้นเคยชื่อเพียงไม่กี่อย่าง แต่ที่จริงแล้ว ยังมีอาหารภาคเหนืออีกหลายเมนูที่น่าลิ้มลอง และอร่อยไม่แพ้อาหารภาคอื่นๆ บทความนี้ได้รวบรวมรายการอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ทั้งที่อาจเคยได้ยิน และไม่เคยได้ยินมาก่อน ให้ทุกคนได้รู้จักและลองไปหาชิมกัน จะได้รู้ว่าอาหารล้านนานั้น ลำขนาด!!  แอ๊บหมู อาหารเหนือท้องถิ่นแต้ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แอ๊บหมู คืออาหารที่นำเนื้อหมูสดผสมกับไข่ไก่ ซึ่งจะต่างจากแอ๊บอาหารเหนือชนิดอื่นๆ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง จากนั้นนำไปทำให้สุกด้วยการย่างไฟ โดยการใช้ไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จอผักกาด แกงผักกาดเหนือ หรือ จอผักกาด อาหารพื้นบ้านล้านนา ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก…
View Post

ความหมายของแผงสวิตช์คืออะไร

แผงสวิตช์บอร์ด ที่เรามักจะเห็นได้ตามอาคาร ที่พักอาศัยระบบนิติบุคคล ตึกอาคารสูงๆ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจการ หรือรูปแบบอาคารใด ก็ต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วรู้ไหมว่า “แผงสวิตช์” หรือ Switchboard panel ส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้านี้ ทำหน้าที่อะไร และภายในตู้หน้าตาเรียบ ๆ นี้ มีส่วนประกอบอะไรข้างในบ้างนะ
View Post

รู้จักไซโคพาธ โรคขาดความสำนึกผิด

ไซโคพาธ (Psychopaths) โรคขาดความสำนึกผิด เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง มุ่งเน้นแต่เป้าหมายของตนเอง และทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น โดยไม่สนแม้จะต้องทำร้ายใคร หรือจะมีผลกระทบกับใครบ้าง Psychopaths หรือ ไซโคพาธ แปลว่า คนโรคจิต  และถ้าจะให้ความหมายคำว่า โรคจิต แปลว่า โรคทางจิตใจที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือโรคจิตพฤติกรรมรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมสติได้ (ความหมายจาก พจนานุกรมไทยราชบัณฑิตยสถาน ) เช่น ประสาทหลอน วิกลจริต หลงผิด (โรคจิต ภาษาอังกฤษ psychosis…
View Post

ศีล 8 หรือ อุโบสถศีล

ศีล แปลว่า “ปกติ” การรักษาศีลจึงเป็นการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ ดังนันศีล 8 จึงเป็นการดำรงตนให้เป็นปกติด้วยการงดเว้นจากการทำบาปและข้อที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมขั้นสูงไปจนถึงการเข้าสู่นิพพาน    ศีล 8 ภาษาอังกฤษคือ 8 precepts ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัจจุบันไม่เพียงแต่คนไทยหรือชาวพุทธทางเอเชียเท่านั้นที่ยึดถือปฏิบัติในการรักษาศีล แต่เริ่มมีการสนใจและศึกษาพร้อมปฏิบัติ รวมไปถึงการสวดมนต์ภาวนาเข้าทางสายพุทธกันมากขึ้นทั่วโลก ทั้งฝั่งทางยุโรป อเมริกา แคนาดา หรือแม้แต่อัฟริกา ดังนั้นบทอาราธนาศีลในบทความนี้จะมีคำภาษาอังกฤษประกอบให้เพื่ออำนวยความสะดวกกับชาวต่างชาติที่สนใจได้ฝึกหรือคนไทยที่มีเพื่อนต่างชาติและสนใจ ก็สามารถนำไปบอกพวกเขาได้เช่นกัน     ศีลอุโบสถคือ ศีล 8…
View Post