กฏหมาย PDPA คืออะไร และสำคัญอย่างไรจึงต้องบังคับใช้

Total
0
Shares

PDPA คืออะไร / PDPA มีอะไรบ้าง / ใครต้องอยู่ภายใต้ PDPA บ้าง / บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA

เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2565 ที่เรียกว่า PDPA ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น ทำให้หลายคนที่อาจยังปรับตัวกันไม่ได้  เผลอทำผิดข้อกฏหมาย พ.ร.บ. ด้วยความเคยชิน แม้ว่าจะผ่านมาแล้วหลายเดือน หลังจากมีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ดังนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนกันหน่อยว่า PDPA มีอะไรบ้าง และ PDPA ต้องทำอะไรบ้าง จะได้รักษาสิทธิ์ของตนเอง และได้ไม่ทำผิดตาม พ.ร.บ.PDPA 

 

PDPA คืออะไร 

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนของคน ๆ หนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ส่วน PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act เป็น พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและรักษาสิทธิ์ส่วนบุคคล ไม่ให้ใครเก็บหรือนำข้อมูลและภาพของเราไปใช้ ส่งต่อ หรือ เปิดเผยแก่ผู้อื่น โดยไม่แจ้งให้เราทราบก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าทำผิดกฏหมาย และสามารถแจ้งดำเนินการเอาผิดทางกฏหมายได้เช่นกัน 

 

PDPA มีอะไรบ้าง 

  1. ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) มีอะไรบ้าง 
  • ชื่อ นามสกุล 
  • วันเดือนปีเกิด น้ำหนัก ส่วนสูง สัญชาติ 
  • หมายเลยโทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน ทะเบียนบ้าน 
  • หมายเลขบัตรประชาชน เลขอนุญาตใบขับขี่ หนังสือเดินทาง 
  • ทะเบียนรถ โฉนดที่ดิน 
  • ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลด้านสุขภาพและทางการแพทย์ 
  • ข้อมูลอื่น ๆ ที่ระบุตัวตนบนอินเทอร์เน็ต เช่น Username , password , GPS location 

 

ไม่เพียงแต่ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แต่ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ซึ่งจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความละเอียดอ่อน อาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลได้ ไม่ว่าจะในด้านความเป็นอยู่ ด้านการทำงาน หรือสังคม จนอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ หรือเกิดปัญหารุนแรงตามมาได้ 

 

  1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ได้แก่ 
  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ 
  • ความเชื่อ ศาสนา ลัทธิ หรือ ปรัชญา 
  • ความคิดเห็นทางการเมือง 
  • เพศสภาพ และ พฤติกรรมทางเพศ 
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น โรคประจำตัว การรับวัคซีน ใบรับรองแพทย์ 
  • ประวัติอาชญากรรม 
  • ข้อมูลแสดงตัวตนทางชีวภาพ เช่น ลายมือ ม่านตา

ใครต้องอยู่ภายใต้ PDPA บ้าง 

 

  1. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) 

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คือ คนที่ถูกชี้ตัวตนจากข้อมูลชุด ๆ นั้น หรือก็คือ ตัวเราเอง โดยภายใต้กฏหมาย PDPA  เจ้าของข้อมูล หรือตัวเราเอง จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง และมีสิทธิต่าง ๆ เหนือข้อมูลส่วนบุคคลของตน

 

  1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) 

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือ บุคคล บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่มีการตัดสินใจจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล อะไร อย่างไร เพื่ออะไร ภายใต้ PDPA  ซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ และรับผิดชอบต่อการปฏิบัติตาม PDPA ให้ครบถ้วน หรือแม้แต่ในรูปแบบ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่รับข้อมูลสถานที่การจัดส่งสินค้าของลูกค้า และต้องส่งต่อข้อมูลให้กับขนส่งเพื่อบริการส่งสินค้า ก็ถือว่าเป็น Data Controller หรือในรูปแบบองค์กร เช่น บริษัทที่ต้องใช้ข้อมูลพนักงานเพื่อพิจารณารับเข้าทำงาน หรือเพื่อจ่ายเงินเดือน ตัวบริษัทก็เป็น Data Controller เช่นกัน 

 

  1. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) 

ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล คือ บุคคล บริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้คำสั่ง หรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เท่านั้น ไม่ได้ตัดสินใจประมวลผลด้วยตนเอง เช่น พนักงาน messenger พนักงานส่งของ พนักงานส่งเอกสาร ที่จะต้องนำของหรือสินค้าไปส่งแทนเรา (Data Controller) หรือกรณีที่บริษัทใช้ระบบ Cloud Service ที่ผู้บริการจะต้องเก็บข้อมูลแทนบริษัท ทั้ง Cloud และ messenger ล้วนเป็น Data Processor ทั้งสิ้น 

บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA 

ถึงแม้ PDPA ประกาศใช้มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีอีกหลายบุคคลและบริษัทปฏิบัติตามไม่ครบถ้วน เช่น ยังไม่มีการจัดทำ Privacy Policy หรือยังไม่ได้ทำเรื่องขอความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกับเจ้าของข้อมูลอย่างถูกต้อง หรืออาจไม่ครบถ้วน ยังไม่มีการแต่งตั้ง DPO เป็นต้น อาจนำไปสู่การทำผิดกฏหมายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA  โดยเฉพาะกรณีการจัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว และการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะก่อนหรือหลัง พ.ร.บ.บังคับใช้ ต้องมีการแจ้ง Privacy Policy ไม่เช่นนั้นจะถือทำผิด และเจ้าของข้อมูลที่ถือว่าเป็นผู้เสียหายสามารถร้องเรียน เป็นคดีละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยบทลงโทษทำผิด PDPA สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ 

  • โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน – 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 – 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
  • โทษทางแพ่ง ค่าสินไหมทดแทน + ค่าสินไหมเพื่อการลงโทษไม่เกิน 2 เท่า 
  • โทษทางปกครอง ปรับไม่เกิน 1/3/5 ล้านบาท 

สรุป 

จะเห็นได้ว่าบทลงโทษ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ค่อนข้างรุนแรงเลยทีเดียว ดังนั้นทั้งเจ้าของข้อมูลจะต้องศึกษาข้อมูลเพื่อรักษาสิทธิ์ของตน และผู้ที่ทำหน้าที่ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล หรืออยู่ในส่วนของการดูแล จัดการเอกสารข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องพึงยึดถือปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA อย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ความเสียหายที่คุณอาจคาดไม่ถึง และอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นข้อกำหนดที่ออกมาให้เกิดแต่โทษ เพราะที่จริงแล้ว PDPA ได้ถูกบัญญัติออกมาเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลที่เราทุกคนพึงได้รับอย่างเท่าเทียม

You May Also Like

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้างดน้ำตาล 14 วัน

โดยปกติร่างกายต้องการน้ำตาลเพียง 24 กรัม / วัน เท่านั้น หรือประมาณ 4-6 ช้อนชา (เทียบเท่าน้ำผลไม้ประมาณ 200 มิลลิลิตร) แต่ถ้าได้รับปริมาณที่มากไป จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง น้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  น้ำตาลธรรมชาติ ที่ได้จากผัก ผลไม้ต่างๆ (ฟรุกโตส) และน้ำตาลในนม (แล็กโทส) น้ำตาลสังเคราะห์ หรือน้ำตาลที่ปรุงแต่ง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม…
View Post

ภูเขาไฟในไทยจะมีโอกาสปะทุซ้ำหรือไม่ 

จากการเกิดภัยธรรมชาติภูเขาไฟระเบิดของภูเขาไฟตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดควันภูเขาไฟและเถ้าถ่านที่เป็นมลพิษทางอากาศ พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าไปไกลได้ถึงประมาณ 20 กิโลเมตร และเกิดคลื่นสึนามิสูงถึง 15 เมตร ซัดเข้าชายฝั่งของเกาะแมงโก้ ทำให้หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะหายไปแทบทั้งหมู่บ้าน เหตุภูเขาไฟระเบิดผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทั้งเกาะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปช่วงระยะหนึ่ง และอีกหลายประเทศที่ชายฝั่งติดมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับความเสียหายรุนแรงจากภูเขาไฟปะทุลูกนี้ แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดอยู่ห่างจากชายฝั่งของไทยไปประมาณ 9,500 กิโลเมตร แต่ก็ต้องมีการจับตามองและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด  ข่าวการเกิดภูเขาไฟหลายแห่งที่ยังคุกรุ่นอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ “วงแหวนแห่งไฟ” ที่หลายๆคนรู้จักกันดี ซึ่งมากกว่าร้อยละ 75% ของภูเขาไฟทั้งหมดบนโลก…
View Post

รวมอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ สไตล์ล้านนา ลำแต้ๆ

เมนูอาหารภาคเหนือ ที่ใครๆหลายคนชื่นชอบ บางคนอาจคุ้นเคยชื่อเพียงไม่กี่อย่าง แต่ที่จริงแล้ว ยังมีอาหารภาคเหนืออีกหลายเมนูที่น่าลิ้มลอง และอร่อยไม่แพ้อาหารภาคอื่นๆ บทความนี้ได้รวบรวมรายการอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ทั้งที่อาจเคยได้ยิน และไม่เคยได้ยินมาก่อน ให้ทุกคนได้รู้จักและลองไปหาชิมกัน จะได้รู้ว่าอาหารล้านนานั้น ลำขนาด!!  แอ๊บหมู อาหารเหนือท้องถิ่นแต้ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แอ๊บหมู คืออาหารที่นำเนื้อหมูสดผสมกับไข่ไก่ ซึ่งจะต่างจากแอ๊บอาหารเหนือชนิดอื่นๆ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง จากนั้นนำไปทำให้สุกด้วยการย่างไฟ โดยการใช้ไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จอผักกาด แกงผักกาดเหนือ หรือ จอผักกาด อาหารพื้นบ้านล้านนา ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก…
View Post

ชุดปฐมพยาบาล เครื่องมือประจำบ้านและการเดินทาง

เพราะการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดเมื่อไร ดังนั้นการมีชุดปฐมพยาบาลไว้ประจำบ้านและในทุกๆการเดินทาง ไว้สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที จึงจำเป็นที่ควรจะมีไว้อย่างยิ่ง บทความนี้เราจะมารู้ถึงอุปกรณ์และยาที่ควรมีไว้เป็นชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้สักหน่อย แต่ก่อนอื่นเราควรรู้ก่อนว่าการดูแลผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเบื้องต้น จะมี 2F ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ นั่นก็คือ  1.First aid คือ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันที ด้วยความรู้ที่มี และอุปกรณ์ที่หาได้ เพื่อลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ช่วยลดความพิการและให้กลับฟื้นคืนสภาพโดยเร็ว หรือความเจ็บป่วยที่เกิดกระทันหัน ประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ 2.First aid kit คือ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ที่เป็นเครื่องมือจำเป็นไว้รักษาเบื้องต้นกับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ก่อนจะทำการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเราจะเรียกกันง่ายๆว่า…
View Post

ความหมายของแผงสวิตช์คืออะไร

แผงสวิตช์บอร์ด ที่เรามักจะเห็นได้ตามอาคาร ที่พักอาศัยระบบนิติบุคคล ตึกอาคารสูงๆ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจการ หรือรูปแบบอาคารใด ก็ต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วรู้ไหมว่า “แผงสวิตช์” หรือ Switchboard panel ส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้านี้ ทำหน้าที่อะไร และภายในตู้หน้าตาเรียบ ๆ นี้ มีส่วนประกอบอะไรข้างในบ้างนะ
View Post

มิจฉาวณิชชา 5 อาชีพที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำแล้วสร้างบาปติดตัว 

รู้ไหมว่า 5 อาชีพใดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามประกอบเลี้ยงชีพ เพราะจะเป็นการก่อบาปสร้างเวรติดตัว โดยอาชีพต้องห้ามนี้ ทางพุทธศาสนาเรียกว่า มิจฉาวณิชชา คือ อาชีพ 5 อย่าง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้าม ได้แก่  มังสวณิชชา คือ อาชีพค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา หรือเลี้ยงโค กระบือ เพื่อขายหรือส่งต่อไปยังโรงฆ่าสัตว์ เป็นการส่งเสริมให้ผิดศีลข้อ 1 คือ ปาณาติบาติฯ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้ว่าตามหลักศาสนาพุทธเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม…
View Post