ภูเขาไฟเมานาโลอา ภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความสูงจากน้ำระดับน้ำทะเล 4,169 เมตร ตั้งอยู่ในเมืองโคนา ของเกาะฮาวาย สหรัฐอเมริกา เกิดการปะทุอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปะทุครั้งแรกในรอบ 38 ปี นับตั้งแต่ปี 1984 เป็นต้นมา
โดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ USGS ได้มีรายงานว่า แรงดันก่อตัวขึ้นที่ภูเขาไฟเมานาโลอามานานหลายปี และได้มีการเตือนด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวหลายครั้ง ก่อนที่จะเกิดปะทุและระเบิดออกมา โดยสามารถมองเห็นการปะทุในครั้งนี้ได้ในระยะไกล 72 กิโลเมตร จากเมืองโคนา ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะฮาวาย
หลังจากที่ภูเขาไฟระเบิดขึ้น ได้เกิดธารหลอมเหลวที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนเกาะและบริเวณรอบ ๆ อีกทั้งยังมีกระบายไอน้ำและควันปริมาณมหาศาล เป็นกลุ่มก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กระจายขึ้นสู่ท้องฟ้าผสมกับเถ้าถ่าน จนกลายเป็นมลพิษทางอากาศ หรือ VOG (มลพิษ : ก๊าซ + เถ้าภูเขาไฟ ) ที่อันตรายต่อผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจ ได้แผ่ครอบคลุมไปทั่วบริเวณ นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนจากการปะทุของภูเขาไฟเมานาโลอา อาจส่งผลให้ภูเขาไฟคิลาเวปะทุได้ รวมไปถึงภูเขาไฟลูกอื่น ๆ ที่เหลือด้วยเช่นกัน และระเบิดตามมาได้
ภูเขาไฟเมานาโลอา ประวัติเป็นมาอย่างไร
ภูเขาไฟเมานาโลอารูปร่างแบบโล่ (Shield Volcano) มีการไหลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งภูเขาไฟปะทุมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีการปะทุเกือบต่อเนื่องตั้งแต่มีการก่อตัวภูเขาไฟลูกนี้ขึ้นมา แม้ว่าจะไม่รุนแรงเกินไปก็ตาม โดยชื่อเมานาโลอาภาษาฮาวาย แปลว่า ยาว หรือภูเขาไฟที่มีความยาว โดยมีเนื้อที่ประมาณ 5,271ตารางกิโลเมตร กว้างประมาณ 120 กิโลเมตร ครอบคลุมเกือบครึ่งหนึ่งของเกาะฮาวาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 4,169 เมตร เป็นอันดับสองรองจากยอดเขาเมานาเคอา ซึ่งเมานาโลอาสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ และเป็นภูเขาไฟมีพลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ภูเขาไฟเมานาโลอา เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกเหนือจุดที่ร้อนและแรงดันของน้ำ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อนในยุค Oligocene โดยในช่วงแรก ภูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) เริ่มเป็นภูเขาไฟในทะเลประมาณ 600,000 – 1,000,000 ปีที่แล้ว ซึ่งมีการปะทุอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ส่งผลให้ลาวารวมตัวกันจนโผล่ออกมาจากก้นมหาสมุทร
เมานาโลอา เป็นสถานที่สำหรับเฝ้าสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศ โดย โครงการเฝ้าติดตามบรรยากาศโลก และหน่วยงานทางวิทยาศาตร์อื่น ๆ รวมถึง หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์แห่งเมานาโลอา (MLSO) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ รวมไปถึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภูเขาไฟ โดย NOAA หรือ องค์กรการบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
5 ภูเขาไฟในหมู่เกาะฮาวาย
นอกจากภูเขาไฟคิเลาเวอา ยังมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอีก 4 ลูก จากภูเขาไฟหมู่เกาะฮาวายทั้งหมด 5 ลูก รวมกันเป็นเกาะใหญ่ของฮาวาย (Big Island) โดยภูเขาไฟเมานาโลอาเป็น 1 ในนั้น และเป็นภูเขาไฟที่ยังมีพลังลูกใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย โดยภูเขาไฟในฮาวายทั้ง 5 ลูก ได้แก่
- เมานาโลอา (ใหญ่ที่สุด)
- คิเลาเวอา หรือ คิลาเว (ใหญ่รองลงมาจากเมานาโลอา)
- เมานาเคอา
- โคฮาลา
- ฮูอาลาไล
โดยภูเขาไฟทั้ง 5 ลูกนี้ ยังคงมีแรงดันก่อตัวเตรียมปะทุได้ตลอดเวลา และเมื่อ 38 ปีที่ผ่านมา หรือเมื่อปี1984 ก็เคยเกิดปรากฏการณ์ ภูเขาไฟเมานาโลอา และ ภูเขาไฟคิลาเว ปะทุพร้อมกันมาแล้ว
หากลองคิดว่าภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นทั้ง 5 ลูกดังกล่าว เกิดปะทุพร้อมกัน นั่นย่อมสร้างมหันตภัยร้ายแก่โลกได้อย่างเป็นวงกว้างเลยทีเดียว ทั้งในด้านของภัยทางน้ำอย่าง สึนามิ มลพิษทางอากาศ และความร้อนระอุของลาวา ที่สามารถละลายทุกสิ่งได้ในพริบตา ซึ่งต้องยอมรับว่า ภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่อันตรายและน่ากลัวที่สุด แล้วมีโอกาสไหมที่ภูเขาไฟในไทยจะปะทุขึ้นอีกเหมือนภูเขาไฟเมานาโลอา ซึ่งนักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงพวกเราทุกคนคงต้องเฝ้าสังเกตและคอยระวังกันต่อไป