ภูเขาไฟในไทยจะมีโอกาสปะทุซ้ำหรือไม่ 

Total
0
Shares

จากการเกิดภัยธรรมชาติภูเขาไฟระเบิดของภูเขาไฟตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดควันภูเขาไฟและเถ้าถ่านที่เป็นมลพิษทางอากาศ พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าไปไกลได้ถึงประมาณ 20 กิโลเมตร และเกิดคลื่นสึนามิสูงถึง 15 เมตร ซัดเข้าชายฝั่งของเกาะแมงโก้ ทำให้หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะหายไปแทบทั้งหมู่บ้าน เหตุภูเขาไฟระเบิดผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทั้งเกาะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปช่วงระยะหนึ่ง และอีกหลายประเทศที่ชายฝั่งติดมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับความเสียหายรุนแรงจากภูเขาไฟปะทุลูกนี้

แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดอยู่ห่างจากชายฝั่งของไทยไปประมาณ 9,500 กิโลเมตร แต่ก็ต้องมีการจับตามองและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด 

ข่าวการเกิดภูเขาไฟหลายแห่งที่ยังคุกรุ่นอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ “วงแหวนแห่งไฟ” ที่หลายๆคนรู้จักกันดี ซึ่งมากกว่าร้อยละ 75% ของภูเขาไฟทั้งหมดบนโลก หรือประมาณ 850 ลูก ที่ยังมีพลังอยู่ (Active Volcanoes) และครอบคลุมถึง 31 ประเทศด้วยกัน ตั้งแต่ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกาเหนือ และมักจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวถึง 90% บนโลก ยังไม่นับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นอีก 80%

ภูเขาไฟต่างประเทศและเป็นภูเขาไฟดังๆที่หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่ออยู่บ้าง เช่น ภูเขาไฟตองกา ภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาไฟคองโก ภูเขาไฟกรากะตัว ภูเขาไฟซีนาบุง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นภูเขาไฟที่ยัง Active อยู่  ทีนี้เราย้อนกลับมาดูข้อมูลภูเขาไฟในประเทศไทยกันบ้าง เพราะมีภูเขาไฟที่เคยปะทุในไทย และภูเขาไฟที่ดับแล้วเช่นกัน แต่จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนกันนะ ที่ภูเขาไฟของไทยเราจะปะทุขึ้นมาอีก ก่อนอื่นเราทำความรู้จักการกำเนิดภูเขาไฟเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย ภูเขาไฟคืออะไร ภูเขาไฟเกิดจากอะไร และชนิดภูเขาไฟในประเทศไทย 

ภูเขาไฟคือ ภูเขาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก มีหินหนืดอยู่ใต้เปลือกโลก ในอุณหภูมิสูงมาก จนเกิดแรงดันและการกระแทกแทรกตัวตามรอยแยกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดผลักดันหินหนืดที่ร้อนจัด ไอน้ำ เศษหิน ฝุ่นละออง และก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ก๊าซไนโตรเจน (N2) เป็นต้น พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ซึ่งหินหนืดที่พุ่งออกมานี้คือ “ลาวา” (LAVA) แต่หินหนืดที่ยังไม่ออกสู่พื้นผิวโลก เรียกว่า “แมกมา” (Magma)

เราสามารถเรียกภูเขาไฟภาษาอังกฤษว่า Volcano โดยภูเขาไฟจะมี 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 

  1. ภูเขาไฟมีพลัง (Active Volcanoes) เป็นภูเขาไฟที่เพิ่งเกิดการปะทุหรืออาจปะทุในอนาคต
  2. ภูเขาไฟสงบ (Dormant Volcanoes) เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่มีการปะทุ แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต 
  3. ภูเขาไฟดับสนิท (Extinct Volcanoes) ภูเขาไฟที่จะไม่เกิดการปะทุขึ้นอีกเลย 

และยังสามารถแบ่งตามรูปร่างลักษณะได้อีก 4 ประเภท ดังนี้ 

  1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) 
  2. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) 
  3. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Ash and cinder cone)
  4. ภูเขาไฟแบบสลับชั้น (Composite cone) 

ภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ และเป็นภูเขาไฟดับแล้ว  แม้ว่าจะเคยเกิดการระเบิดมาก่อน แต่นั้นก็ผ่านมานานมากกว่าหมื่นปีแล้ว แต่ก็ยังภูเขาไฟอายุน้อยๆหลงเหลืออยู่บ้าง ตัวอย่างภูเขาไฟที่ว่านี้ เช่น  ภูเขาไฟใน จ.บุรีรัมย์  ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จ.ลำปาง เป็นต้น ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วแต่ก็มีโอกาสที่อาจปะทุขึ้นได้อีก แม้ว่าจะน้อยมากๆก็ตาม เพราะไม่ได้อยู่แนวมุดตัวเหมือนภูเขาไฟ จ.เลย และ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้นักวิชาการและนักวิจัยเชื่อมั่น ว่าหากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟการป้องกันสำหรับในประเทศไทย คาดว่าจะสามารถทำได้โดยไม่น่ากังวล

แต่ที่น่ากังวลและควรเฝ้าระวังคือ ภูเขาไฟใต้ทะเลลูกเล็กที่เกาะบาแรน หรือภูเขาไฟชื่อ Barren Island ใกล้กับเกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งห่างจากประเทศไทยเพียง 700 กิโลเมตร ทางฝั่งอันดามัน ด้านจังหวัดระนอง ภูเก็ต และพังงา พบว่าภูเขาไฟลูกนี้ยังคงปลดปล่อยพลังงานอยู่เป็นระยะๆ และอาจมีโอกาสที่จะปะทุ ทำให้เกิดแผ่นดินไหว และเกิดสึนามิตามขึ้นมาได้ แต่ก็อาจมาไม่ถึงประเทศไทย แต่นั่นก็ให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นภูเขาไฟอีกจุดหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง ด้วยภูมิศาสตร์และการทับซ้อนตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก และมีภูเขาไฟที่มีพลังกระจายตัวรอบๆ ไทยจึงต้องเตรียมพร้อมและคอยตรวจสอบเตือนภัย รวมถึงการให้ความรู้ในการอพยพ การขนย้ายผู้ป่วยและสัตว์เลี้ยง 

ภูเขาไฟที่ดับแล้วในไทยจะมีด้วยกัน 8 แห่ง โดยจะเป็นภูเขาไฟจ.บุรีรัมย์ 6 แห่งด้วยกัน ได้แก่ ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟหินหลุบ ภูเขาไฟคอก ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟไปรบัด ภูเขาไฟกระโดง จ.บุรีรัมย์ และอีก 2 แห่งคือ ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู และ ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด 

  • ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์  เป็นภูเขาไฟหินบะซอลต์แบบกรวยลาวา มีลักษณะรูปร่างคล้ายชาม มีจุดที่สูงที่สุด 386 เมตร จากระดับน้ำทะเล และสูงจากที่ราบโดยรอบประมาณ 180 เมตร ความกว้างของปากปล่องของศูนย์กลางเนินภูเขาไฟ ราวๆ 300 เมตร และคาดว่าภูเขาไฟลูกนี้น่าจะดับมาแล้วกว่า 1.2 ล้านปี                                                                                   
  • ภูเขาไฟหินหลุบ อ.เฉลิมพระเกียรติ ภูเขาไฟจะมีร่องรอยปากปล่องรูปโค้งยาว จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา เรื่องภูเขาไฟในไทย                                                       
  • ภูเขาไฟเขาคอก อ.ประโคนชัย แม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่ก็เป็นแหล่งกำเนิดห้วยเสว และไว้สำหรับเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา                                                                                                         
  • ภูเขาไฟอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ หรือภูพระอังคาร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากภูเขาไฟพนมรุ้ง มีวัดเขาพระอังคารตั้งอยู่บนยอดเขา ศาสนสถานที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ   
  • ภูเขาไฟกระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว รายล้อมไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานสมัยขอม พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพสักการะของคนในท้องถิ่น                                                        
  • ภูเขาไฟไบรบัด จ.บุรีรัมย์ ส่วนใหญ่จะเป็นซากภูเขาไฟที่มีช่องปล่องปะทุชัดเจน ซึ่งเนินจะเกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟ จากแรงดันของก๊าซต่างๆ อย่าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ไฮออกไซด์ รวมไปถึงไอน้ำ และเศษหินต่างๆ ที่หลอมละลายแล้วถูกดันขึ้นไปปะทุ จนกระทั่งเย็นและแข็งตัวในอากาศ                                                                                                   
  • ภูเขาไฟดอยผาคอกจำปาแดด จ.ลาปาง เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิท ไม่มีการระเบิดอีกแล้ว โดยได้รับการยืนยันจาก ดร.เปียร์ ซอเรนซน ผู้อำนวยการสถาบันสแกนดิเนเวีย ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ ภูเขาลูกนี้มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 630 เมตร ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ยืนต้นหลายชนิด และไม่สามารถเดินทางขึ้นไปได้ด้วยทางเดินรถ                                                   
  • ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู จ.ลำปาง ถูกตั้งชื่อจากชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณแถบน้้น โดยความหมายภูเขาไฟลูกนี้จะสอดคล้องกับลักษณะของปล่อง เป็นชนิดภูเขาไฟชั้นหินลาวา หรือหินบะซอลต์ ที่ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ด้วยปากปล่องภูเขาไฟมีบริเวณกว้าง และถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้ทั่วไป จนไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นภูเขาไฟมาก่อน

**ภูเขาไฟดอยผาคอกจำปาแดด และ ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู จะตั้งอยู่ไม่ไกลกัน โดยอยู่กันลูกละฝั่งถนน เพราะภูเขาไฟในไทยจะเป็นชนิดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว อาจไม่ได้เห็นความยิ่งใหญ่อลังการ ความสวยงามที่แฝงไปด้วยความน่ากลัว เหมือนๆอย่างภูเขาไฟต่างประเทศ แต่เชื่อว่าหลายๆคนคงยินดีที่มันเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วอย่างนี้มากกว่า แต่!! เราก็ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ ดังนั้นการไม่ประมาทจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้รอดพ้นสถานการณ์เลวร้ายได้มากกว่าความประมาทอย่างแน่นอน

สิ่งสำคัญในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดสถานการณ์ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และสึนามิ อย่า!!ฝากความหวังไว้กับระบบเตือนภัย 100% เพราะต่อให้ผ่านการฝึกซ้อมมามากแค่ไหน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์จริง ระบบเตือนภัยก็อาจทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้ 

 

You May Also Like

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้างดน้ำตาล 14 วัน

โดยปกติร่างกายต้องการน้ำตาลเพียง 24 กรัม / วัน เท่านั้น หรือประมาณ 4-6 ช้อนชา (เทียบเท่าน้ำผลไม้ประมาณ 200 มิลลิลิตร) แต่ถ้าได้รับปริมาณที่มากไป จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง น้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  น้ำตาลธรรมชาติ ที่ได้จากผัก ผลไม้ต่างๆ (ฟรุกโตส) และน้ำตาลในนม (แล็กโทส) น้ำตาลสังเคราะห์ หรือน้ำตาลที่ปรุงแต่ง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม…
View Post

รวมอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ สไตล์ล้านนา ลำแต้ๆ

เมนูอาหารภาคเหนือ ที่ใครๆหลายคนชื่นชอบ บางคนอาจคุ้นเคยชื่อเพียงไม่กี่อย่าง แต่ที่จริงแล้ว ยังมีอาหารภาคเหนืออีกหลายเมนูที่น่าลิ้มลอง และอร่อยไม่แพ้อาหารภาคอื่นๆ บทความนี้ได้รวบรวมรายการอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ทั้งที่อาจเคยได้ยิน และไม่เคยได้ยินมาก่อน ให้ทุกคนได้รู้จักและลองไปหาชิมกัน จะได้รู้ว่าอาหารล้านนานั้น ลำขนาด!!  แอ๊บหมู อาหารเหนือท้องถิ่นแต้ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แอ๊บหมู คืออาหารที่นำเนื้อหมูสดผสมกับไข่ไก่ ซึ่งจะต่างจากแอ๊บอาหารเหนือชนิดอื่นๆ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง จากนั้นนำไปทำให้สุกด้วยการย่างไฟ โดยการใช้ไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จอผักกาด แกงผักกาดเหนือ หรือ จอผักกาด อาหารพื้นบ้านล้านนา ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก…
View Post

ชุดปฐมพยาบาล เครื่องมือประจำบ้านและการเดินทาง

เพราะการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดเมื่อไร ดังนั้นการมีชุดปฐมพยาบาลไว้ประจำบ้านและในทุกๆการเดินทาง ไว้สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที จึงจำเป็นที่ควรจะมีไว้อย่างยิ่ง บทความนี้เราจะมารู้ถึงอุปกรณ์และยาที่ควรมีไว้เป็นชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้สักหน่อย แต่ก่อนอื่นเราควรรู้ก่อนว่าการดูแลผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเบื้องต้น จะมี 2F ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ นั่นก็คือ  1.First aid คือ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันที ด้วยความรู้ที่มี และอุปกรณ์ที่หาได้ เพื่อลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ช่วยลดความพิการและให้กลับฟื้นคืนสภาพโดยเร็ว หรือความเจ็บป่วยที่เกิดกระทันหัน ประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ 2.First aid kit คือ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ที่เป็นเครื่องมือจำเป็นไว้รักษาเบื้องต้นกับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ก่อนจะทำการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเราจะเรียกกันง่ายๆว่า…
View Post

ความหมายของแผงสวิตช์คืออะไร

แผงสวิตช์บอร์ด ที่เรามักจะเห็นได้ตามอาคาร ที่พักอาศัยระบบนิติบุคคล ตึกอาคารสูงๆ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจการ หรือรูปแบบอาคารใด ก็ต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วรู้ไหมว่า “แผงสวิตช์” หรือ Switchboard panel ส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้านี้ ทำหน้าที่อะไร และภายในตู้หน้าตาเรียบ ๆ นี้ มีส่วนประกอบอะไรข้างในบ้างนะ
View Post

มิจฉาวณิชชา 5 อาชีพที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำแล้วสร้างบาปติดตัว 

รู้ไหมว่า 5 อาชีพใดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามประกอบเลี้ยงชีพ เพราะจะเป็นการก่อบาปสร้างเวรติดตัว โดยอาชีพต้องห้ามนี้ ทางพุทธศาสนาเรียกว่า มิจฉาวณิชชา คือ อาชีพ 5 อย่าง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้าม ได้แก่  มังสวณิชชา คือ อาชีพค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา หรือเลี้ยงโค กระบือ เพื่อขายหรือส่งต่อไปยังโรงฆ่าสัตว์ เป็นการส่งเสริมให้ผิดศีลข้อ 1 คือ ปาณาติบาติฯ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้ว่าตามหลักศาสนาพุทธเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม…
View Post

มารยาทพื้นฐานในสังคม สิ่งเล็ก ๆ แต่สำคัญ

โลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว เจริญไปด้วยวัตถุและเทคโนโลยี แต่ความเจริญทางจิตใจกลับถดถอยลงคลอง    หากไม่โลกสวยจนเกินไป เชื่อว่าทุกคนย่อมเห็นเป็นจริงเช่นนั้น เพราะในขณะที่โลกก้าวล้ำสู่ยุควิวัฒนาการ และความเร่งรีบให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านเปลือกนอกต่าง ๆ กลับไปเบียดแย่งเวลาในการฝึกอบรมและปลูกฝังความดีงามของไทยที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมา จนคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันหลงลืมและไม่รู้จักคำว่า “มารยาท” ไปเสียแล้ว ทำให้คนวิถีสังคมยุคใหม่รู้จักแต่การยึดตนเองเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงความเหมาะสมหรือไม่ในการปฏิบัติต่อผู้อื่น โดยเฉพาะมารยาทการให้เกียรติผู้อื่น หรือแม้แต่การแสดงความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่   มารยาท คือ การมีกิริยาวาจาสุภาพและท่าทางอ่อนน้อม ประพฤติปฏิบัติตนถูกกาลเทศะ ส่วนมารยาทางสังคม คือ ข้อปฏิบัติและวินัยที่ดี ที่ควรยึดถือและประพฤติตนเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรือกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ เป็นข้อระเบียบและสิ่งที่ควรทำ หรือควรงดเว้น เมื่อออกจากบ้าน…
View Post