เรามากำจัด“ขยะอาหาร” ตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกกันเถอะ

Total
0
Shares

ทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหากับความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ผิดปกติ ยิ่งนับวัน..เภทภัยธรรมชาติก็เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้นทุกที สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้เพียงพริบตา!

 

แม้แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าใคร จากที่เคยมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ปัจจุบัน ไทยเราแทบจะมีเพียงแค่ ฤดูร้อน และฤดูฝน แต่ส่วนใหญ่ก็เหมือนไทยเราจะมีฤดูร้อนเป็นหลักเสียแล้ว เพราะเพียงแค่คุณก้าวออกจากนอกบ้าน ก็แทบจะละลายด้วยไอแดดที่จัดจ้า เหมือนว่ากำลังเดินอยู่ในเตาอบอย่างไรอย่างนั้นเลย นั่นก็เป็นเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลมาจากก๊าซเรือนกระจกนั่นเอง 

ก๊าซเรือนกระจก คือ ชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งทำหน้าที่เสมือนกระจก ที่คอยดูดซับและปล่อยรังสีอินฟราเรด โดยยอมให้รังสีคลื่นสั้น ผ่านลงมายังผิวโลก แต่จะดูดกลืนรังสีช่วงยาวอินฟาเรด ที่แผ่ออกจากผิวโลกไว้ โดยบางส่วนจะถูกปล่อยออกห้วงอวกาศ ในขณะที่บางส่วนจะถูกสะท้อนความร้อน จากชั้นบรรยากาศกลับลงสู่ผิวโลก เราเรียกว่า “ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก” หรือ Greenhouse Effect 

 

เรือนกระจกปกคลุมผิวโลก เพื่อให้อุณหภูมิมีความสมดุล เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตในโลก หากปราศจากก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลให้โลกมีอากาศหนาวจนสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป ก็จะทำให้อุณหภูมิบนโลกสูงจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในโลกเช่นกัน 

ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยอะไรบ้าง

เรือนกระจกประกอบไปด้วย ไอน้ำ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ไนตรัสออกไซด์ ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ และกลุ่มก๊าซต่างๆ แต่โลกของเราในปัจจุบันนี้ มีก๊าซบางชนิดสะสมในชั้นบรรยากาศมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศมีภาวะไม่สมดุล โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น จนส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและทุกชีวิตบนโลก!

ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากอะไร

ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากธรรมชาติ และจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ การย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต ไฟป่า ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ส่วนจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน การอุตสาหกรรม การเผากำจัดขยะ การทำการเกษตร การทำฟาร์มปศุสัตว์ หรือแม้แต่การย่อยสลายของเศษอาหาร เป็นต้น 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก 

เมื่อทำการสำรวจปริมาณการปล่อยก๊าซจากกิจกรรมต่างๆทั่วโลก พบว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  65% จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซมีเทน 16% ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นจากหลุมฝังกลบ  การทิ้งขยะ ฟาร์มปศุสัตว์ การเกษตร การเผา ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 11% จากการใช้ที่ดิน และก๊าซฟลูออรีเนต 2% จากการทำอุตสาหกรรม 

 

แม้ว่าจะมีการปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศน้อยกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่รู้ไหมว่าก๊าซมีเทนสามารถกักเก็บความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า! และแม้เราจะรู้กันดีว่า จำนวนก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลต่อภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มากเกินพอดี และผลจากการสำรวจก็ยิ่งเป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น 

ขยะเศษอาหารเกี่ยวอะไรกับก๊าซเรือนกระจก

เพราะขยะเศษอาหารคือ 1 ใน 3 ของปริมาณขยะในโลก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ด้วยการปล่อยก๊าซมีเทน จากการย่อยสลายเศษอาหาร ที่มาจากทั้งระดับบุคคล ครัวเรือน ร้านอาหาร และระดับอุตสาหกรรม โดยมีแหล่งปล่อยก๊าซมีเทนจากขยะอาหารขนาดใหญ่อยู่ที่ “บ่อขยะ”

 

ต้นทางของขยะเศษอาหาร

  1. บุคคล เส้นทางของขยะอาหารระดับเล็กสุด ซึ่งเกิดจากการที่เราทานอาหารไม่หมดในแต่ละมื้อ และกลายเป็นขยะเปียกเศษอาหาร และถูกเททิ้งตามจุดต่างๆ
  2. ครัวเรือน ขยะเศษอาหารระดับครัวเรือน ส่วนใหญ่จะเกิดจากการทำกับข้าว และการทานอาหารเหลือ ทำให้ต้องทิ้งเศษอาหารเหล่านั้น 
  3. ร้านอาหาร การประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ทำให้เกิดขยะอาหารสดจำนวนมากกว่าในครัวเรือน ทั้งขยะจากเศษอาหาร และขยะจากวัตถุดิบต่างๆ รวมไปถึงขยะจากอาหารทานเหลือของลูกค้าที่มาใช้บริการ 
  4. อุตสาหกรรมด้านอาหาร เส้นทางของขยะอาหารระดับใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับอาหาร สำหรับจำหน่ายแก่ผู้บริโภค จึงต้องใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย และในจำนวนมาก ทำให้มีการทิ้งเศษอาหารจากโรงงาน ในปริมาณมากกว่าทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้นหลายเท่า 

 

โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว และในพื้นที่ ที่มีแหล่งอาหารหลากหลายรองรับผู้บริโภค มักจะมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก ทำไมน่ะหรือ? นั่นเป็นเพราะว่า อาหารเหลือทิ้งจำนวนมาก ของผู้คนรวมกันในแต่ละวัน ที่ถูกส่งไปยังบ่อขยะ เมื่อถูกกองทับรวมกัน จะเทียบเท่าได้กับภูเขาขนาดย่อมเลยทีเดียว และยิ่งไม่มีการแยกเศษอาหารจากขยะอื่นๆ กองทับถมกันอย่างหมักหมม ระหว่างกระบวนการย่อยสลายเศษอาหาร จะมีการปล่อยก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาลเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming)

garbage in trash with black bag at park

เรามาดูกันว่าประเภทขยะเศษอาหาร (Food Waste) มีอะไรบ้าง และสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากแค่ไหน โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ 

 

  1. เนื้อสัตว์ 57% 
  2. ผลิตภัณฑ์จากนม 18.3% 
  3. เครื่องดื่มต่างๆ 6%
  4. ไข่ 3%
  5. ผักต่างๆ 2.6% 

 

จากการสำรวจและมีรายงานว่า ก๊าซมีเทนถูกปล่อยจากบ่อขยะ หรือ Landfill ทั่วโลก ประมาณ 1,032 ล้านตัน และคนไทยเองก็มีการสร้างขยะมูลฝอยประมาณ 27 ล้านตัน / ปี ซึ่งเป็นขยะอาหารถึง 64% หรือ 254 กิโลกรัม / คน / ปี ไม่เพียงแค่นั้น แม้แต่ทุกกระบวนในการผลิตอาหาร ก็มีส่วนทำให้โลกร้อนทั้งสิ้น จึงต้องยอมรับว่า เราทุกคนต่างมีส่วนทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก!

เราสามารถลดขยะอาหารได้อย่างไร 

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น จากที่คนไทยสร้างขยะเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยร้อยละ 64 เป็นขยะอาหารเหลือใช้เหลือกิน ทำให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีมาตรการ 3R ได้แก่

 

  1. Reduce คือ การลดการใช้ ด้วยการบริโภคแต่พอดี หรือใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง โดยเฉพาะทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปอย่าง น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ลดการใช้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น เปิดไฟเฉพาะที่ใช้งาน ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้ปิ่นโตหรือกล่องข้าวแทนกล่องโฟม ทานอาหารที่ร้านแทนห่อกลับบ้าน เดินหรือปั่นจักรยานเมื่อเดินทางระยะใกล้แทนการใช้รถ เป็นต้น เป็นการประหยัดพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อม
  2. Reuse คือ การนำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด อย่าง บริจาคแทนการทิ้ง ซ่อมแซมแทนการซื้อใหม่ เช่น ซ่อมเสื้อผ้าที่ขาด นำกระดาษที่เขียนเพียง 1 หน้าทำเป็นสมุดโน๊ต ทำสิ่งประดิษฐ์จากกระป๋องหรือขวดน้ำที่ใช้แล้ว ไว้ใส่อุปกรณ์การเขียน ใส่ของกระจุกกระจิก เป็นต้น นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้อของใหม่ ลดการใช้ทรัพยากร ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้ความภูมิใจจากผลงานการประดิษฐ์ของตนเองอีกด้วย
  3. Recycle คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการนำสิ่งที่สามารถรีไซเคิลได้ นำกลับมาใช้ใหม่ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงแร่ธาตุต่างๆ ด้วยการ คัดแยกขยะ ทิ้งขยะให้ถูกประเภท เพื่อสะดวกในการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เช่น ขาเทียมจากฝากระป๋อง น้ำมันไพโลไรซิสจากพลาสติก กระเป๋าจากซองกาแฟ เสื้อกันฝนจากซองขนม ชุด PPE จากขวดพลาสติก รวมถึงการรีไซเคิลขยะอาหารเป็นปุ๋ย

 

เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงการลดปริมาณขยะอาหาร ที่เป็นตัวการของการเกิดก๊าซเรือนกระจก และภาวะโลกร้อน เรามาดูวิธีการลดขยะจากอาหาร ด้วยหลักของ 3R 

 

1.อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมจะมีข้อกำหนด มาตรการ และกฏหมาย เพื่อควบคุมปริมาณขยะของโรงงานต่างๆ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมด้านอาหาร เพื่อผลักดันให้มีการจัดการขยะอาหารสด ให้ถูกทิ้งในปริมาณน้อยลง 

 

  • จัดสรร และคำนวนปริมาณวัตถุดิบ ให้ตรงกับผลิตภัณฑ์ และพอดีต่อการผลิต เพื่อจำหน่ายในแต่ละรอบ จะช่วยลดการทิ้งเศษอาหารเหลือใช้ และช่วยลดต้นทุนแก่ผู้ผลิต 
  • ใช้เครื่องกำจัดขยะจากอาหาร ทำให้จำนวนขยะอาหารลดลงไปมากกว่าครึ่ง อีกทั้งยังได้กากอาหารสะอาด ที่สามารถนำไปใช้รีไซเคิลต่อได้ อย่างเช่นการนำไปทำปุ๋ยหมัก

 

2.ร้านอาหาร ร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารขนาดเล็ก หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ มักจะมีขยะอาหารสดจำนวนมาก ทั้งจากวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหาร หรือขยะเศษอาหารที่ลูกค้าทานไม่หมด และแน่นอนว่า ประเทศไทยเรามีร้านอาหารทุกหนทุกแห่ง หรือแม้แต่ร้านตั้งโต๊ะเล็กๆ บนถนนแทบทุกเส้นทาง จนได้ฉายา เมืองสตรีทฟู้ด รวมๆกันแล้ว นับว่าไทยเราเป็นแหล่งการเกิดก๊าซมีเทนจากร้านอาหารจำนวนมหาศาลเลยทีเดียว ร้านค้าเหล่านี้จึงต้องมีการควบคุมตั้งแต่ การเลือกซื้อวัตถุดิบ ตรงตามรายการที่มีจำหน่ายในร้าน และในปริมาณที่เหมาะสมต่อการจัดจำหน่าย และปรุงอาหารแต่ละครั้งด้วยปริมาณที่พอดีแก่ผู้บริโภค เพื่อลดปริมาณการทิ้งขยะอาหารสด และยังเป็นการลดต้นทุนได้อย่างดี นอกจากนี้ ร้านอาหารขนาดใหญ่หลายๆร้าน เริ่มหันมาใช้เครื่องกำจัดขยะจากเศษอาหารมากขึ้น เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องทิ้งในแต่ละวัน และช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ 

 

3.บุคคลและครัวเรือน วิธีการลดขยะอาหารง่ายๆ สำหรับบุคคลและครัวเรือนทำได้โดย 

 

  • วางแผนจ่ายตลาดให้พอดี จดรายการและจัดสรรปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อสมาชิกในบ้าน และซื้อตามรายการ เพื่อป้องกันอาหารเหลือทิ้งจากการหมดอายุ หรือเน่าเสีย เพราะทานไม่ทัน 
  • ปรุงอาหารให้พอดีกับจำนวนสมาชิกในบ้าน และเหมาะสมต่อการทานในแต่ละมื้อ 
  • ตักอาหารให้พอทานเท่านั้น หากไม่อิ่มค่อยเติมใหม่  
  • ทานอาหารให้หมดทุกครั้ง 
  • มีการแยกเศษอาหาร และการแยกประเภทขยะ
  • รีไซเคิล ด้วยการเปลี่ยนเศษอาหารในบ้านให้เป็นดินปุ๋ย

การจัดการขยะเศษอาหาร

แน่นอนว่าเราช่วยลดขยะอาหารลงได้ แต่ก็ยังต้องมีขยะบ้างที่จำเป็นต้องทิ้ง เรามาดูวิธีกำจัดเศษอาหาร

ในครัวเรือนกันดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง 

 

1.กำจัดเศษอาหารด้วยการใส่ถุงขยะ 

เป็นวิธีที่ทำกันแทบทุกบ้าน เพียงแค่ทิ้งเศษอาหารลงในถึงขยะ แล้วรวบรวมไปวางไว้ที่จุดทิ้งขยะ รอให้เทศบาลมาเก็บ เพื่อส่งต่อไปยังที่ฝังกลบ หรือนำไปทำปุ๋ยหมัก แม้ว่าการกำจัดเศษอาหารวิธีนี้จะง่ายและสะดวกสำหรับทุกครัวเรือน แต่เทศบาลต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก สำหรับการกำจัดเศษอาหาร และการหมักปุ๋ยจากเศษอาหารจำนวนมหาศาล ปริมาณน้ำและออกซิเจนในกระบวนการย่อยเศษอาหารก็มหาศาลตาม ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซมีเทน ส่งผลต่อสภาวะเรือนกระจกตามมา ดังนั้น การจัดสรรอาหารให้พอดี เพื่อจะได้ไม่ต้องมีอาหารเหลือทิ้ง หรือทิ้งเศษอาหารให้น้อยที่สุด รวมไปถึงการแยกเศษอาหารออกจากขยะชนิดอื่นๆ เพื่อลดภาระของเทศบาล และงบประมาณกำจัดเศษอาหารของประเทศ ได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

นอกจากนี้ เพื่อสุขอนามัยภายในบ้าน ควรมีการจัดถังทิ้งเศษอาหารให้เป็นสัดส่วน ปิดฝามิดชิด และหมั่นนำไปทิ้งเป็นประจำ มิฉะนั้นอาจโดนสัตว์หรือแมลงมารบกวน (เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ) รวมถึงกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ และควรมีการกรองเศษอาหารให้ดี ไม่ปล่อยให้เศษอาหารชิ้นใหญ่ไหลลงท่ออ่างล้างจานซึ่งอาจทำให้ท่อตันง่าย

 

2.กำจัดเศษอาหารโดยขุดหลุมฝัง 

การกำจัดขยะอาหารโดยการฝังกลบ เป็นการจำกัดขยะด้วยการ เปลี่ยนเศษอาหารเป็นปุ๋ย เพราะเศษอาหารที่ถูกฝังกลบ จะมีการย่อยสลาย กลายสภาพไปเป็นปุ๋ยบำรุงดิน และเหมาะแก่การปลูกต้นไม้ให้เจริญงอกงาม แม้ว่าจะสามารถช่วยลดภาระแก่เทศบาล แต่วิธีเหล่านี้เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ และบริเวณภายนอกพอสมควร ห่างไกลจากตัวบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงกลิ่นเหม็นเข้าบ้าน และป้องกันสัตว์ต่างๆ เช่น หนู แมลง มด มารบกวน รวมถึงหมา แมว รื้อคุ้ยดินที่กลบฝังขยะอาหาร จึงอาจต้องขุดหลุมให้ลึก และทำในพื้นที่เป็นสัดส่วนมิดชิด วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับคนที่มีพื้นที่จำกัด 

 

3.รีไซเคิลด้วยเครื่องกําจัดเศษอาหารเป็นปุ๋ย

อุปกรณ์เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาท ด้านการแก้ปัญหาขยะเศษอาหารในบ้าน รวมถึงที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันได้ดี เนื่องจากมีขนาดเล็กกระทัดรัด สะดวกต่อทุกพื้นที่อาศัย และใช้งานง่าย เพียงแค่แยกน้ำและของของแข็งออก จากนั้นใส่อาหารลงไปแล้วกดปุ่ม เครื่องกำจัดเศษอาหารจะทำการย่อยสลายเศษอาหาร ให้กลายเป็นปุ๋ยหมักที่มีสารอาหารครบถ้วนสำหรับพืช และนำไปใช้ได้ทันที โดยไร้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นกวนใจ ลดขั้นตอน ไม่ยุ่งยาก ไร้ปัญหาสัตว์ แมลงรบกวน ลดการสะสมของเชื้อโรค ลดปริมาณขยะ จึงทำให้เครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร เป็นนวัตกรรมในการรีไซเคิลขยะอาหาร ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยไม่ต้องทิ้งให้เกิดมลพิษ ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดีต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม 

 

แล้วเครื่องกำจัดเศษอาหารยี่ห้อไหนดี? ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวก ไม่ยุ่งยากวุ่นวาย และสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้ในเวลาเดียวกัน เพราะช่วยกำจัดกากอาหาร และเปลี่ยนให้เป็นปุ๋ย ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ได้อย่างง่ายดาย ไม่จำกัดพื้นที่ เพราะขนาดเครื่องที่เล็ก หนักเพียง 18 กิโลกรัม แต่สามารถรองรับขยะอาหารได้ถึง 2 กิโลกรัม / วัน และช่วยให้ปริมาณขยะเศษอาหารลดไปได้กว่า 90% เลยทีเดียว ทำให้ลดการใช้ถุงขยะในแต่ละเดือนไปได้ไม่น้อยเลย เป็นนวัตกรรม และเทคโนโลยี ช่วยรีไซเคิล จากอาหาร สู่อาหาร ระบบหมุนเวียน แบบจิ๋วแต่แจ๋ว ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนในเมือง ทำให้มีผู้ผลิตเจ้าเครื่องทำลายเศษอาหารที่ว่านี้ ออกมาจำหน่ายกันมากขึ้น หลากหลายยี่ห้อ และเรทราคาที่แตกต่างกันไป 

แต่การเลือกซื้อเครื่องกำจัดเศษอาหารให้ได้ตรงใจ และถูกกับประเภทการใช้งานในบ้าน เราจะต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ดี ทั้งระบบการทำงาน ขนาดที่เหมาะสมกับการใช้ของสมาชิกในบ้าน ถ้าบ้านที่มีคนอาศัยจำนวนน้อย การเลือกใช้เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารสำหรับครัวเรือน ขนาด 2 ลิตร ก็เพียงพอ แต่กรณีที่เป็นครอบครัวใหญ่ ร้านเชิงพาณิชย์ ร้านอาหาร หรือองค์กร ที่มีคนใช้งานจำนวนมาก ก็เลือกขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มขนาดความจุ ให้สามารถรองรับปริมาณขยะกากอาหารในแต่ละวันได้อย่างพอดี 

 

เรารู้กันแล้วว่า ขยะอาหาร ที่เกิดจากการกินของพวกเรา เป็นตัวการร้าย ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ย้อนกลับมาทำร้ายพวกเรา และสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก เมื่อต้นเหตุเกิดจากพวกเรา เราก็ควรช่วยกันแก้ไขปัญหา เริ่มจากการลด ทานแต่พอเหมาะและให้หมด รีไซเคิลขยะสด เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ อย่างการทำเป็นปุ๋ย การเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ จากบ้าน ครัวเรือน รวมกันเป็นชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ และทั่วโลก ก็จะช่วยให้ระบบนิเวศน์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นไปได้อย่างยั่งยืน 

 

ขยะอาหารที่ไม่ถูกจัดการให้เหมาะสม ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน หากหยุดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ ด้วยการลดและกำจัดขยะอาหาร ภาวะโลกร้อนก็จะลดลงได้อย่างนาน

 

You May Also Like

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้างดน้ำตาล 14 วัน

โดยปกติร่างกายต้องการน้ำตาลเพียง 24 กรัม / วัน เท่านั้น หรือประมาณ 4-6 ช้อนชา (เทียบเท่าน้ำผลไม้ประมาณ 200 มิลลิลิตร) แต่ถ้าได้รับปริมาณที่มากไป จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง น้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  น้ำตาลธรรมชาติ ที่ได้จากผัก ผลไม้ต่างๆ (ฟรุกโตส) และน้ำตาลในนม (แล็กโทส) น้ำตาลสังเคราะห์ หรือน้ำตาลที่ปรุงแต่ง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม…
View Post

ความหมายของแผงสวิตช์คืออะไร

แผงสวิตช์บอร์ด ที่เรามักจะเห็นได้ตามอาคาร ที่พักอาศัยระบบนิติบุคคล ตึกอาคารสูงๆ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจการ หรือรูปแบบอาคารใด ก็ต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วรู้ไหมว่า “แผงสวิตช์” หรือ Switchboard panel ส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้านี้ ทำหน้าที่อะไร และภายในตู้หน้าตาเรียบ ๆ นี้ มีส่วนประกอบอะไรข้างในบ้างนะ
View Post

มารยาทพื้นฐานในสังคม สิ่งเล็ก ๆ แต่สำคัญ

โลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว เจริญไปด้วยวัตถุและเทคโนโลยี แต่ความเจริญทางจิตใจกลับถดถอยลงคลอง    หากไม่โลกสวยจนเกินไป เชื่อว่าทุกคนย่อมเห็นเป็นจริงเช่นนั้น เพราะในขณะที่โลกก้าวล้ำสู่ยุควิวัฒนาการ และความเร่งรีบให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านเปลือกนอกต่าง ๆ กลับไปเบียดแย่งเวลาในการฝึกอบรมและปลูกฝังความดีงามของไทยที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมา จนคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันหลงลืมและไม่รู้จักคำว่า “มารยาท” ไปเสียแล้ว ทำให้คนวิถีสังคมยุคใหม่รู้จักแต่การยึดตนเองเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงความเหมาะสมหรือไม่ในการปฏิบัติต่อผู้อื่น โดยเฉพาะมารยาทการให้เกียรติผู้อื่น หรือแม้แต่การแสดงความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่   มารยาท คือ การมีกิริยาวาจาสุภาพและท่าทางอ่อนน้อม ประพฤติปฏิบัติตนถูกกาลเทศะ ส่วนมารยาทางสังคม คือ ข้อปฏิบัติและวินัยที่ดี ที่ควรยึดถือและประพฤติตนเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรือกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ เป็นข้อระเบียบและสิ่งที่ควรทำ หรือควรงดเว้น เมื่อออกจากบ้าน…
View Post

รู้จักไซโคพาธ โรคขาดความสำนึกผิด

ไซโคพาธ (Psychopaths) โรคขาดความสำนึกผิด เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง มุ่งเน้นแต่เป้าหมายของตนเอง และทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น โดยไม่สนแม้จะต้องทำร้ายใคร หรือจะมีผลกระทบกับใครบ้าง Psychopaths หรือ ไซโคพาธ แปลว่า คนโรคจิต  และถ้าจะให้ความหมายคำว่า โรคจิต แปลว่า โรคทางจิตใจที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือโรคจิตพฤติกรรมรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมสติได้ (ความหมายจาก พจนานุกรมไทยราชบัณฑิตยสถาน ) เช่น ประสาทหลอน วิกลจริต หลงผิด (โรคจิต ภาษาอังกฤษ psychosis…
View Post

โยคะคนท้อง กายบริหารที่ช่วยให้คุณแม่แข็งแรงและคลอดง่าย

“โยคะ“ (YOGA) ศาสตร์แห่งการผนวก ร่างกาย จิตใจ และ วิญญาณ หลอมรวมกันอย่างสมดุล เป็นการฝึกกายบริการ ควบคู่ไปกับการฝึกหายใจ และกระบวนการความคิด ให้จดจ่อกับลมหายใจเข้า-ออก ก่อให้เกิดสมาธิ สามารถทำความเข้าใจถึงระบบร่างกายและความเป็นตัวตน โยคะสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย และทุกที่โดยไม่จำกัด เพราะโยคะเป็นการออกกำลังกาย ที่ใช้พื้นที่ไม่มาก และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานที่ที่ต้องการ นอกจากนั้น โยคะ เป็นกายบริหารที่ช่วยยืดเส้นภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี เป็นกีฬาที่นุ่มนวล แก้อาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ก็สามารถเล่นท่าโยคะได้ โดยไม่มีอันตราย โยคะสำหรับคนท้องในปัจจุบัน ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีท่าโยคะคนท้อง ที่สามารถเล่นได้โดยไม่มีอันตรายต่อแม่และเด็กในท้อง…
View Post

คู่อาหารอันตราย: อาหารที่ไม่ควรกินคู่กัน มีอะไรบ้าง?

คำถามที่ขึ้นต้นหัวข้อนี้ เริ่มมาจากมีญาติได้แชร์ไวรัล อาหารคู่มรณะ มาให้อ่าน ทำให้ต้องมาหาข้อมูลว่าจริงหรือไม่ กินอาหารเหล่านั้นด้วยกัน แล้วจะอันตรายถึงชีวิตได้อย่างไร
View Post