ไซโคพาธ (Psychopaths) โรคขาดความสำนึกผิด เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง มุ่งเน้นแต่เป้าหมายของตนเอง และทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น โดยไม่สนแม้จะต้องทำร้ายใคร หรือจะมีผลกระทบกับใครบ้าง
Psychopaths หรือ ไซโคพาธ แปลว่า คนโรคจิต และถ้าจะให้ความหมายคำว่า โรคจิต แปลว่า โรคทางจิตใจที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือโรคจิตพฤติกรรมรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมสติได้ (ความหมายจาก พจนานุกรมไทยราชบัณฑิตยสถาน ) เช่น ประสาทหลอน วิกลจริต หลงผิด (โรคจิต ภาษาอังกฤษ psychosis – จากพจนานุกรมฯ)
โรคจิตโดยทั่วไป คือมีความผิดปกติทางความคิดและการรับรู้ แม้จจะมีความรู้สึกตัว และสติปัญญาเป็นปกติ แต่โรคจิตพยาธิสภาพที่บ่งบอกได้ชัดคือ การหลงผิดเป็นถูก เป็นโรคจิตคิดว่าตัวเองป่วย
บางคนมีเข้าข่ายเพียงแค่อ่อนๆ เป็นอาการโรคจิตย้ำคิดย้ำทำ แต่บางรายก็ค่อนข้างเป็นผู้ป่วยโรคจิตรุนแรง เป็นไซโคพาธ
ไซโคพาธ คืออะไร
ไซโคพาธ (Psychopaths) จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) ผู้ป่วยจะมีลักษณะขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ ดูคล้าย ๆ คนที่มีนิสัยแข็งกระด้าง ไร้ความเมตตาปรานี
ไซโคพาธเกิดจากอะไร
รายงานของ Very well mind ระบุว่า ผู้ที่มีภาวะไซโคพาธ ไม่จำเป็นต้องมีพฤติกรรมทางจิต เหมือนอย่างผู้ป่วยจิตเวช แต่อาจเป็นบุคคลทั่วไป ที่มีลักษณะจิตบางอย่างที่แอบซ่อนไว้ในใจลึกๆ และสาเหตุสำคัญของอาการกลุ่มโรคจิต หรือทำให้เกิดภาวะไซโคพาธจะมาจาก ทางด้านร่างกาย กับทางด้านจิตใจและสังคม
ด้านร่างกาย จะเกี่ยวโยงมาจาก “สมอง” คือมีความผิดปกติมาจากสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้า และส่วนอะมิกดะลา (amygdalae) หรือมีความผิดปกติของสารในสมองที่เกิดจากพันธุกรรม (โรคจิตกรรมพันธุ์) หรือสมองมีการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ
ด้านจิตใจและสังคม การอบรมเลี้ยงดู หรือไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ โดนเพิกเฉย ขาดความรัก รวมไปถึงการได้รับทารุณกรรมในวัยเด็ก รวมไปถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่เติบโตมา มีความโหดร้าย หรืออาชญากรรมในครอบครัว เช่น ครอบครัวแตกแยก การทะเลาะเบาะแว้งของคนในครอบครัว เป็นต้น
ไซโคพาธ อาการเป็นอย่างไร
- จิตใจจะมีความแข็งกระด้าง มักจะแสดงออกทางการกระทำให้เห็นอยู่บ่อยๆ
- ขาดความเห็นใจผู้อื่น แม้จะเข้าใจถึงอารมณ์ของคนอื่น แต่ก็ไม่แยแสถึงความรู้สึกของคนเหล่านั้น แม้จะเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทก็ตาม
- มีพฤติกรรมโกหกและบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือศัพท์ทางจิตวิทยาเรียกว่า Pathological Lying เพื่อสร้างภาพให้ตัวเอง ให้หลุดพ้นจากปัญหา และเป็นการเรียกร้องความสนใจ
- ขาดความสำนึกผิด ไม่สนใจว่าการกระทำของตนจะส่งผลต่อคนอื่นอย่างไร ไม่สำนึกผิดใดๆ ที่ทำให้คนอื่นเจ็บปวด แต่จะหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และตำหนิคนอื่น
- เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
- มีความรู้สึกด้านชา ไม่เกรงกลัวต่อการทำผิดบาป หรือการทำผิดกฎหมาย แม้ว่ากำลังจะได้รับโทษก็ตาม
- มีความผิดปกติทางอารมณ์และความคิด ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม
- มีพฤติกรรมตอบสนองความต้องการของตนเอง โดยไม่สนใจจะกระทบคนรอบข้างและสังคมยังไงบ้าง
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ที่นำไปสู่การก่ออาชญากรรมได้
อาการลักษณะของโรคจิตชนิดต่างๆ ที่มักจะเจอเห็นได้ง่าย โรคจิตชอบถอนผมตัวเอง โรคจิตทำร้ายคนอื่น โรคจิตชอบความรุนแรง โรคจิตชอบเก็บของ แต่ไซโคพาธจะเป็นการเพิ่มเลเวล ความยากและซับซ้อนของระบบความคิด แต่ลักษณะทั่วไปเหมือนคนปกติ
ไซโคพาธ รักษาได้ไหม
การรักษาโรคไซโคพาธ จะเป็นการใช้ยาต้าน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคจิตเวช ที่มีอาการร่วมกับโรคไซโคพาธ และรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม โดยใช้หลักทางจิตวิทยา สนับสนุนให้ทำกิจกรรมทีดี พร้อมกล่าวชมหรือให้รางวัล แต่ผู้ป่วยไซโคพาธส่วนมาก ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการรักษา เพราะไม่ได้คิดว่าตัวเองป่วย หรือผิดปกติใดๆ จึงไม่รู้สึกว่าตนจะต้องได้รับการรักษา ส่วนการลงโทษผู้ป่วยไซโคพาธ แทบจะไม่ส่งผลใดๆเลย จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะผู้ป่วยขาดความสำนึก ในด้านความผิดชอบชั่วดี และไม่เกรงกลัวต่อบาปและบทลงโทษใดๆ
อีกทั้งการวินิจฉัยโรคชนิดนี้ยังทำได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยจะมีลักษณะภายนอก และการใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป และอาจเป็นเหมือนเพียงคนเห็นแก่ตัวคนหนึ่งเท่านั้น หากไม่ได้มีการทำร้ายใครซ้ำๆ หรือก่ออาชญากรรม ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอาการอย่างถูกต้อง
ศาสตราจารย์ เฟลลอน ซึ่งเป็นศจ.ด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์ ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ ได้ทำการศึกษาและวิจัยกรณีของโรคไซโคพาธ โดยการสแกนสมองของคนทั่วไปและผู้ป่วยไซโคพาธ พบถึงความแตกต่างของการเคลื่อนไหวในสมองบางส่วน ระหว่างผู้ป่วยไซโคพาธกับคนทั่วไป โดยคนที่เป็นไซโคพาธ ประเภทที่ชอบทำร้ายผู้อื่น หรือก่ออาชญากรรมรุนแรง จะมีส่วนสีเทาในสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสามัญสำนึกในศีลธรรม การรับรู้การเข้าใจอารมณ์และเห็นใจผู้อื่น
สมองส่วนที่เรียกว่า “อะมิกดะลา” (มีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์) ของผู้ป่วยไซโคพาธจะมีขนาดเล็กกว่าของคนทั่วไปมาก หากสามารถสังเกตพฤติกรรมได้ตั้งแต่เด็ก อาจบ่งชี้ได้ว่าเป็นไซโคพาธจากพันธุกรรม และมีแนวโน้มสูงที่เมื่อเติบโตไปเป็นไซโคพาธ และอาจกลายเป็นฆาตกรได้ในอนาคต ซึ่งนั่นก็เป็นการวิเคราะห์ที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแบบ 100%
ซึ่งศาสตราจารย์ เฟลลอน เคยได้ทำการสแกนสมองสมาชิกในครอบครัวตัวเอง ร่วมกับฆาตกรหลายราย เมื่อเขาวิเคราะห์ผลสแกนสมองชิ้นหนึ่ง แล้วพบว่า เจ้าของชิ้นส่วนสมองรายนี้ เป็นบุคคลที่อันตราย ไม่ควรปล่อยให้อยู่ร่วมกับคนทั่วไป เพราะมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของคนรอบข้าง แต่กลับกลายเป็นว่า ชิ้นส่วนสมองชิ้นนั้นเป็นของ ศาสตราจารย์ เฟลคอน!
ไซโคพาธ สู่การเป็นฆาตกร
หลายข่าวอาชญากรรม ที่มักจะพบว่าลักษณะทั่วไปของฆาตกรต่อเนื่อง ไม่น่ามีเหตุจูงใจในการฆาตกรรม แต่กลับกลับพบว่าก่ออาชญากรรมได้ต่อเนื่อง และสามารถทำได้อย่างเลือดเย็น โดยไม่มีท่าทีรู้สึกผิดใดๆ ไม่มีแม้แต่ความรู้สึกสงสาร หรือการขอขมาเหยื่อแต่อย่างใด พร้อมหาข้ออ้างสารพัดเข้าข้างตนเองว่าถูก และโยนความผิดในสิ่งที่เกิดขึ้นให้กับเหยื่อ
คนที่เป็นไซโคพาธแม้จะรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ถูกต้อง เพราะคนกลุ่มนี้ยังมีสติเป็นปกติ ไม่ได้เสียสติ แต่แค่ไม่สนไม่แคร์ และไม่คิดว่าตนจะต้องรู้สึกผิด หรือต้องรับผิดชอบใดๆในการกระทำของตน และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติหลังจากก่อเหตุ เหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น
ลักษณะแนวทางเดียวกันของผู้ก่ออาชญากรรมหรือฆาตกร คือ พวกเขามักจะมีวิธีการจัดการกับศพ ให้มีเอกลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีร่องรอยเฉพาะทิ้งไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในฝีมือตน หรือเป็นการท้าทายตำรวจ ว่ามีความสามารถแกะรอยจับตนได้หรือไม่ พูดแบบทั่วไปก็คือ “แน่จริงก็จับฉันให้ได้สิ” เพราะพวกเขามักจะมีความมั่นใจมากกว่าคนทั่วไป และมึความเชื่อว่า ตำรวจไม่มีทางจับเขาได้แน่นอน!!
ผู้ที่เป็นไซโคพาธ จะใช้ชีวิตปกติเหมือนคนปกติ รวมไปถึงไซโคพาธที่อาจก้าวข้ามไปสู่การเป็นฆาตกร และพวกเขาก็ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม โดยที่เราไม่สามารถรู้เลยว่า คนที่เราเจออยู่ทุกวัน คนที่เดินสวนเราอยู่นั้นเป็นไซโคพาธ หรืออาจเป็นอาชญากร การป้องกันตนเองจากคนเหล่านี้จึงอาจทำได้ยาก แต่สามารถป้องกันได้โดยคอยหมั่นสังเกตพฤติกรรมคนใกล้ตัว และคนรอบข้างอยู่เสมอ รวมไปถึงคอยสังเกตตนเอง ว่ามีลักษณะอย่างใดที่ผิดปกติ หรือใกล้เคียงกับข้อใดในบทความนี้บ้างหรือไม่ เพื่อที่จะได้เข้าทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายและความสูญเสีย ที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับใครก็ตาม