ความหมายของแผงสวิตช์คืออะไร

Total
0
Shares

แผงสวิตช์บอร์ด ที่เรามักจะเห็นได้ตามอาคาร ที่พักอาศัยระบบนิติบุคคล ตึกอาคารสูงๆ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจการ หรือรูปแบบอาคารใด ก็ต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วรู้ไหมว่า “แผงสวิตช์” หรือ Switchboard panel ส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้านี้ ทำหน้าที่อะไร และภายในตู้หน้าตาเรียบ ๆ นี้ มีส่วนประกอบอะไรข้างในบ้างนะ

รู้จักแผงสวิตช์หรือสวิตช์บอร์ดกันก่อน 

สวิทช์บอร์ดไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า เป็นแผงรวมวงจร สำหรับใช้ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าที่สำคัญ มักจะติดตั้งตามอาคาร สถานที่ ที่ต้องใช้ปริมาณไฟจำนวนมาก และรูปแบบการวางระบบโครงสร้างตู้สวิตช์บอร์ด มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยขนาดใหญ่จะเรียกว่า ตู้ MDB โดยตู้สวิทช์บอร์ด ภาษาอังกฤษ ก็คือ Switchboards ที่ช่างหลาย ๆคนก็จะเรียกทับคำศัพท์ไปเลย 

 

ตู้สวิทช์บอร์ดไฟฟ้า คือ ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก หรือแผงจ่ายไฟขนาดใหญ่ ที่มีหลากหลายแบบให้เลือกใช้ ตามความเหมาะสม ในแต่ละประเภทการใช้งาน โดยภายในตู้สวิตช์บอร์ด จะมีแผงจ่ายไฟขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแผงแรกที่จะรับไฟฟ้า จากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า หรือจากหม้อแปลงจำหน่ายไฟ หรือจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากนั้นแผงจ่ายไฟทำหน้าที่โหลด แจกกระแสไฟไปยังแผงย่อยส่วนต่างๆ ของอาคาร หรือหน่วยงาน ที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า โดยมี Main Circuit และ Breaker คอยเป็นตัวตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมด นิยมใช้ในอาคารที่มีขนาดกลางขึ้นไป จนถึงอาคารขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เนื่องจากมีการใช้ไฟปริมาณมาก ซึ่งในบางประเทศจะเรียกว่า Main Switchboard 

Man, an electrical technician working in a switchboard with fuses. Installation and connection of electrical equipment. Professional with tools in hand. concept of complex work, space for text.

แผงสวิตช์ทำหน้าที่อะไร

ตู้ MDB ย่อมาจาก Main Distribution Board ซึ่งอย่างที่เรารู้กันไปแล้วว่า เป็นตู้สวิทช์บอร์ดขนาดใหญ่ ทีนี้เรามาดูกันว่าหน้าที่ของตู้แผงสวิตช์มีอะไรบ้าง 

 

1.จ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Distribution) 

หน้าที่แรกของแผงสวิตช์บอร์ด คือ การรับไฟจากระบบการไฟฟ้า หรือหม้อจ่ายไฟ เพื่อนำเข้ามาใช้ภายในอาคาร แล้วจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก ตู้ไฟ MDB ไปยังแผงสวิทช์ หรือแผงไฟ (DB) ซึ่งเป็นแผงย่อย ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของอาคาร โดยผ่านสวิตช์เกียร์ (Switchgear) ที่เป็นสวิตช์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำ มีขนาดแรงดันไฟฟ้า 400-416VAC , 50Hz 3 เฟส 4 สาย ซึ่งแตกต่างจากแผงสวิตซ์ไฟบ้าน เนื่องจากอาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ตึกสูง และโรงงานอุตสาหกรรม ต้องใช้ปริมาณไฟฟ้าจำนวนมากกว่าหลายเท่า จึงจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า 3 เฟส แทนการใช้ไฟฟ้า 1 เฟส แรงไฟฟ้า 230/240VAC 50Hz 

 

2.ป้องกันระบบไฟฟ้า (Electrical Protection)

หากระบบการจ่ายไฟเกิดปัญหา หรือมีความผิดปกติ แผงสวิตช์จะช่วยป้องกันและควบคุม ไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจรุนแรง จนเป็นเหตุให้อุปกรณ์ระเบิด หรือส่งผลอันตรายกับเจ้าหน้าที่ คนงาน หรือช่าง ที่กำลังทำงานบริเวณรอบ ๆ ไซต์งานอีกด้วย โดยความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ 

 

  • ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) 
  • แรงดันไฟฟ้าเกิน (OverVoltage)
  • แรงดันไฟฟ้าตก (Under Voltage)  
  • แรงดันไฟฟ้าหายบางเฟส (Phase loss) 
  • แรงดันไฟฟ้าสลับเฟส (Phase Sequence) 
  • โหลดกระแสไฟฟ้าเกิน (Overload) 
  • ป้องกันเมื่อมีกระแสไฟรั่วลงดิน (Earth Leakage) 
  • ป้องกันฟ้าผ่า (Surge Protection)

 

3.แสดงสถานะการทำงาน (Monitoring)

ช่วยบอกคุณภาพของระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น เพาว์เวอร์ มิเตอร์ (Power meter)  ที่ใช้แสดงค่าพารามิเตอร์ และปริมาณพลังงานไฟฟ้า เช่น แรงดัน , กระแส , ความถี่ , กำลังงานไฟฟ้าจริง , กำลังงานไฟฟ้ารีแอคทีฟ และ Harmonic เพื่อวัดคุณภาพของการใช้งาน เช่นเดียวกับการวัดการบันทึกปริมาณพลังงานที่ถูกใช้ โดย Power meter สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ Analog Power Meter และ Digital Power Meter

 

4.ระบบไฟฟ้าสำรอง (Backup Power)

ระบบไฟฟ้าสำรอง หรือ แบ็คอัพ พาวเวอร์ มีหลายรูปแบบ และหลายระดับด้วยกัน ตั้งแต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) แบบ manual หรือ เครื่องสำรองไฟ UPS (Uninterrupted Power Supply) สำหรับทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟสำรอง เพื่อคอยซัพพอร์ท สำหรับการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้ยังคงทำงานได้ต่อเนื่อง หากระบบไฟหลวงมีปัญหา เช่น ไฟตก หรือ ไฟดับ โดยมี ATS ( Automatic Transfer Switch ) คอยส่งสัญญาณเตือน เพื่อกระตุ้นให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน เมื่อตรวจพบไฟหลวงตก หรือไฟฟ้าดับ และเมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักกลับสู่สภาพปกติ และมีกำลังไฟพร้อมที่จะจ่าย คอนโทรลเลอร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Controller) จะสั่งระบบ ATS ให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องจ่ายไฟตามปกติ แทนการใช้งานจากเครื่องสำรองไฟ 

สวิตช์บอร์ดประเภทต่าง ๆ มีอะไรบ้าง

 

1.โครงตู้สวิตช์บอร์ด (Enclosure)

ชิ้นส่วนหลักภายนอก ที่เป็นเหมือนร่างกายคนเรา คอยห่อหุ้มอวัยวะต่างๆภายใน โดยโครงตู้สวิทช์บอร์ด จะคอยเป็นที่ยึดของตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ภายใน และป้องกันอันตราย หรือผลกระทบจากสิ่งภายนอก ทั้งจากสภาพอากาศ สัตว์ คน และสภาพสิ่งแวดล้อม ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในตู้ และยังเป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนและสิ่งมีชีวิต จากการไปโดน หรือสัมผัสกระแสไฟฟ้าภายในตู้ ซึ่งวัสดุที่ใช้ประกอบโครงตู้ จะทำจากโลหะแผ่น โดยจะต้องมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศ และการกัดกร่อน รวมไปถึงความผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าได้ และฝาตู้สามารถเปิดได้ตามการออกแบบ และความสะดวก ในการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลัก 

 

2.บัสบาร์ (Busbar)

บัสบาร์ หรือ บัส ( BUS ) ที่ทางวิศกรรมไฟฟ้าได้ให้คำนิยาม เพื่ออธิบายถึงจุดรวมของวงจรจำนวนมาก โดยบัสบาร์ คือ โลหะตัวนำไฟฟ้า ที่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อทางไฟฟ้า ระหว่างสายประธานไฟฟ้า กับสายป้อนบัสบาร์ ซึ่งมักจะทำมาจาก ทองแดง ทองเหลือง อลูมิเนียม ในรูปทรงต่างๆ ส่วนใหญ่นิยมทำรูปทางสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Flat) เพราะเป็นรูปทรงที่ระบายความร้อนได้ดี ติดตั้งง่าย มีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ บัสบาร์แบบเปลือย และ บัสบาร์แบบทาสี 

 

ด้วยที่ แผงสวิตช์จะต้องรับและจ่ายกระแสไฟฟ้าปริมาณมาก จะทำให้เกิดแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic Force ) อย่างมหาศาล ดังนั้นการเลือกใช้บัสบาร์ ควรเลือกบัสบาร์ที่มีความต้านทานต่ำ แข็งแรง และทนต่อแรงอัด แรงดึง แรงฉีก มีความต้านทานของ Surface Film ต่ำ แต่ มีความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง  ทำการตัดต่อหรือดัดได้สะดวก และต้องมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง

 

 

3.เซอร์กิต เบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

เซอร์กิต เบรกเกอร์ คือ อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่มีไว้ป้องกัน กรณีเกิดสิ่งผิดปกติ ในระบบการทำงานของแผงสวิตช์  หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้ารั่วลงดิน หรือมีกระแสไหลผ่านเกินค่ากำหนด เซอร์กิต เบรกเกอร์ จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าทันที ซึ่งการเลือกบัสบาร์ จะต้องคำนึงถึงค่าต่าง ๆ ของ Circuit Breaker ทั้ง ค่าพิกัดกระแส (AT) ค่าพิกัดกระแสโครงสร้าง (AF) ค่าตัดกระแสลัดวงจร (IC) การระยะเวลาในการตัดวงจร (Time) และ ขนาดพิกัดไฟรั่ว รวมไปถึงขนาด ความกว้าง ความยาว และความสูง จะต้องพอดีกับขนาดตู้สวิทช์บอร์ด เพื่อความเป็นระเบียบ และสวยงามในการติดตั้ง  

 

สําหรับตู้ MDB แรงต่ำ จะมีเซอร์กิต เบรกเกอร์ 2 แบบ คือ เมนเบรกเกอร์ในการใช้วงจรกระแสสูง คือ Air Circuit Breaker ซึ่งใช้กับแรงดันสูงตั้งแต่ 35-150 KA โดยโครงสร้างทั่วไป ทำด้วยเหล็กที่มีช่องดับอาร์ก  (Arcing chamber) มีขนาดใหญ่ แข็งแรง เพื่อให้สามารถรองรับกระแสลัดวงจรจำนวนมากได้ 

 

4.เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter)

Meter เป็นเครื่องวัดไฟฟ้าพื้นฐานทั่วไป ที่ใช้ในตู้สวิตช์บอร์ด ซึ่งประกอบไปด้วย 

 

  • โวลต์มิเตอร์ พิกัดแรงดัน 0-500V 
  • แอมมิเตอร์ ใช้วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจร โดยที่กระแสของแอมมิเตอร์ จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของ เคอเรนส์ทรานฟอเมอร์ (Current Transformer) เช่น 100 / 5A เป็นต้น 

 

โดยทั้งโวลต์มิเตอร์ และ แอมมิเตอร์ จะใช้งานร่วมกับ ซีเล็คเตอร์สวิทช์ (Selector Switch) เพื่อวัดแรงดัน หรือกระแสในแต่ละเฟส แต่ถ้าหากตู้สวิตช์บอร์ดขนาดใหญ่ จะมีอุปกรณ์เพิ่มเติม ก็จะขึ้นอยู่กับการออกแบบตู้ เช่น ตัวประกอบกำลัง เพาเวอร์แฟคเตอร์ มิเตอร์ (Power Factor) , วาร์มิเตอร์ (Varmeter) และ วัตต์มิเตอร์ (Watt Meter) และบางตู้ก็อาจติดตั้ง P.F. Controller เพื่อควบคุมค่า Power Factor ในวงจรด้วย 

 

5.อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)

ปกติของการใช้งานตู้ MDB จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ภายในตู้ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวมไปถึงความปลอดภัยต่อการใช้งาน เช่น 

 

  • CT (Current Transformer) หม้อแปลงไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลดทอนกระแสไฟฟ้าสูง ให้เป็นกระแสไฟฟ้าต่ำ เพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดกระแสไฟ ซึ่งจะต่อร่วมกับแอมป์มิเตอร์ เพื่อใช้วัดค่าพิกัดกระแสแต่ละเฟส

 

  • Selector Switch อุปกรณ์ควบคุมทิศทางกระแสไฟฟ้า โดยใช้ร่วมกับโวลต์มิเตอร์ และ แอมมิเตอร์ เพื่อวัดแรงดัน และกระแสไฟในแต่ละเฟส และให้กระแสไฟฟ้าไหลไปตามที่ต้องการ ซึ่งสวิตช์แบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม เช่น นำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องจักร ที่สามารถปรับเปลี่ยนโหมดการทำงานระหว่าง แบบ manual (คนควบคุม) หรือ automation (อัตโนมัติ) โดยการบิดสวิตช์เลือก

 

  • Pilot Lamp หลอดไฟแสดงสถานะการทำงานของ ตู้ MDB ช่วยแจ้งเตือนเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ และแสดงสถานะอื่นๆ ตามสีไฟ และตามระบบที่ผู้ออกแบบการใช้งาน 

 

  • Fuse (ฟิวส์) อุปกรณ์นิรภัย ที่จะช่วยป้องกันการลัดวงจร หรือการใช้กระแสเกินในวงจนไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจร เพื่อป้องกันอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวส์จะมีหลายชนิดให้เลือกใช้ ตามความเหมาะสมของการใช้งาน 

สรุปได้ว่า แผงสวิตซ์ หรือตู้สวิตช์บอร์ดหน้าตาสี่เหลี่ยมๆ ที่เราเห็นกันนั้น มีหน้าที่สำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานระบบไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เพราะต้องควบคุมการรับและจ่ายพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่การรับกระแสไฟจากระบบการไฟฟ้า หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่เข้ามาภายในอาคาร โหลดให้เหมาะกับการรองรับของอุปกรณ์ รูปแบบการใช้งาน จ่ายกระแสไฟไปยังแผงย่อย  รวมทั้งป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบไฟฟ้า การเกิดไฟอาร์ก แรงดันไฟฟ้าเกิน แรงดันไฟฟ้าตก กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้ารั่วลงดิน ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ หรืออัคคีภัย ดังนั้น การเลือกตู้ MDB ที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะต้องคำนึงเสมอ และไม่ควรมองข้าม รวมไปถึง จะต้องเลือกผู้ให้บริการ ที่มีบุคลากรประสบการณ์เฉพาะทางสูง พร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์มีมาตรฐาน อีกทั้งมีการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาอย่างยาวนาน เช่น SQD Group บริษัทชั้นนำด้านระบบแผงสวิตช์ไฟฟ้า ที่ออกแบบและติดตั้งได้ตามคอนเซ็ป โดยทีมช่างมืออาชีพ ประสบการณ์สูง และมีการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย จนเป็นที่วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศมาอย่างยาวนาน 

1 comment

Comments are closed.

You May Also Like

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้างดน้ำตาล 14 วัน

โดยปกติร่างกายต้องการน้ำตาลเพียง 24 กรัม / วัน เท่านั้น หรือประมาณ 4-6 ช้อนชา (เทียบเท่าน้ำผลไม้ประมาณ 200 มิลลิลิตร) แต่ถ้าได้รับปริมาณที่มากไป จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง น้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  น้ำตาลธรรมชาติ ที่ได้จากผัก ผลไม้ต่างๆ (ฟรุกโตส) และน้ำตาลในนม (แล็กโทส) น้ำตาลสังเคราะห์ หรือน้ำตาลที่ปรุงแต่ง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม…
View Post

ภูเขาไฟในไทยจะมีโอกาสปะทุซ้ำหรือไม่ 

จากการเกิดภัยธรรมชาติภูเขาไฟระเบิดของภูเขาไฟตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดควันภูเขาไฟและเถ้าถ่านที่เป็นมลพิษทางอากาศ พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าไปไกลได้ถึงประมาณ 20 กิโลเมตร และเกิดคลื่นสึนามิสูงถึง 15 เมตร ซัดเข้าชายฝั่งของเกาะแมงโก้ ทำให้หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะหายไปแทบทั้งหมู่บ้าน เหตุภูเขาไฟระเบิดผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทั้งเกาะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปช่วงระยะหนึ่ง และอีกหลายประเทศที่ชายฝั่งติดมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับความเสียหายรุนแรงจากภูเขาไฟปะทุลูกนี้ แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดอยู่ห่างจากชายฝั่งของไทยไปประมาณ 9,500 กิโลเมตร แต่ก็ต้องมีการจับตามองและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด  ข่าวการเกิดภูเขาไฟหลายแห่งที่ยังคุกรุ่นอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ “วงแหวนแห่งไฟ” ที่หลายๆคนรู้จักกันดี ซึ่งมากกว่าร้อยละ 75% ของภูเขาไฟทั้งหมดบนโลก…
View Post

รวมอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ สไตล์ล้านนา ลำแต้ๆ

เมนูอาหารภาคเหนือ ที่ใครๆหลายคนชื่นชอบ บางคนอาจคุ้นเคยชื่อเพียงไม่กี่อย่าง แต่ที่จริงแล้ว ยังมีอาหารภาคเหนืออีกหลายเมนูที่น่าลิ้มลอง และอร่อยไม่แพ้อาหารภาคอื่นๆ บทความนี้ได้รวบรวมรายการอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ทั้งที่อาจเคยได้ยิน และไม่เคยได้ยินมาก่อน ให้ทุกคนได้รู้จักและลองไปหาชิมกัน จะได้รู้ว่าอาหารล้านนานั้น ลำขนาด!!  แอ๊บหมู อาหารเหนือท้องถิ่นแต้ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แอ๊บหมู คืออาหารที่นำเนื้อหมูสดผสมกับไข่ไก่ ซึ่งจะต่างจากแอ๊บอาหารเหนือชนิดอื่นๆ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง จากนั้นนำไปทำให้สุกด้วยการย่างไฟ โดยการใช้ไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จอผักกาด แกงผักกาดเหนือ หรือ จอผักกาด อาหารพื้นบ้านล้านนา ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก…
View Post

ชุดปฐมพยาบาล เครื่องมือประจำบ้านและการเดินทาง

เพราะการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดเมื่อไร ดังนั้นการมีชุดปฐมพยาบาลไว้ประจำบ้านและในทุกๆการเดินทาง ไว้สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที จึงจำเป็นที่ควรจะมีไว้อย่างยิ่ง บทความนี้เราจะมารู้ถึงอุปกรณ์และยาที่ควรมีไว้เป็นชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้สักหน่อย แต่ก่อนอื่นเราควรรู้ก่อนว่าการดูแลผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเบื้องต้น จะมี 2F ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ นั่นก็คือ  1.First aid คือ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันที ด้วยความรู้ที่มี และอุปกรณ์ที่หาได้ เพื่อลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ช่วยลดความพิการและให้กลับฟื้นคืนสภาพโดยเร็ว หรือความเจ็บป่วยที่เกิดกระทันหัน ประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ 2.First aid kit คือ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ที่เป็นเครื่องมือจำเป็นไว้รักษาเบื้องต้นกับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ก่อนจะทำการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเราจะเรียกกันง่ายๆว่า…
View Post

มิจฉาวณิชชา 5 อาชีพที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำแล้วสร้างบาปติดตัว 

รู้ไหมว่า 5 อาชีพใดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามประกอบเลี้ยงชีพ เพราะจะเป็นการก่อบาปสร้างเวรติดตัว โดยอาชีพต้องห้ามนี้ ทางพุทธศาสนาเรียกว่า มิจฉาวณิชชา คือ อาชีพ 5 อย่าง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้าม ได้แก่  มังสวณิชชา คือ อาชีพค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา หรือเลี้ยงโค กระบือ เพื่อขายหรือส่งต่อไปยังโรงฆ่าสัตว์ เป็นการส่งเสริมให้ผิดศีลข้อ 1 คือ ปาณาติบาติฯ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้ว่าตามหลักศาสนาพุทธเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม…
View Post

มารยาทพื้นฐานในสังคม สิ่งเล็ก ๆ แต่สำคัญ

โลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว เจริญไปด้วยวัตถุและเทคโนโลยี แต่ความเจริญทางจิตใจกลับถดถอยลงคลอง    หากไม่โลกสวยจนเกินไป เชื่อว่าทุกคนย่อมเห็นเป็นจริงเช่นนั้น เพราะในขณะที่โลกก้าวล้ำสู่ยุควิวัฒนาการ และความเร่งรีบให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านเปลือกนอกต่าง ๆ กลับไปเบียดแย่งเวลาในการฝึกอบรมและปลูกฝังความดีงามของไทยที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมา จนคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันหลงลืมและไม่รู้จักคำว่า “มารยาท” ไปเสียแล้ว ทำให้คนวิถีสังคมยุคใหม่รู้จักแต่การยึดตนเองเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงความเหมาะสมหรือไม่ในการปฏิบัติต่อผู้อื่น โดยเฉพาะมารยาทการให้เกียรติผู้อื่น หรือแม้แต่การแสดงความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่   มารยาท คือ การมีกิริยาวาจาสุภาพและท่าทางอ่อนน้อม ประพฤติปฏิบัติตนถูกกาลเทศะ ส่วนมารยาทางสังคม คือ ข้อปฏิบัติและวินัยที่ดี ที่ควรยึดถือและประพฤติตนเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรือกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ เป็นข้อระเบียบและสิ่งที่ควรทำ หรือควรงดเว้น เมื่อออกจากบ้าน…
View Post