Hoarding Disorder คือนักสะสมหรืออาการป่วยกันแน่ 

Total
0
Shares

เชื่อว่าหลายคนมีของรักของหวง บางคนก็อาจเป็นนักสะสม แต่มีใครที่เก็บของทุกสิ่ง จะทิ้งอะไรก็เสียดาย ของนั้นจะใช้ได้หรือไม่ได้ก็ขอเก็บไว้ก่อนบ้างเอ่ย? ลองมาสำรวจดูตัวเองกันสักหน่อยดีกว่า ว่าคุณเก็บของเพราะรู้จักคุณค่าของสิ่งนั้น จึงเก็บรักษาเพื่อให้อยู่สภาพดี และพร้อมใช้งานเมื่อถึงเวลา เป็นนักสะสม หรือเป็น “โรคชอบเก็บสะสมของ” กันแน่  

โรคชอบเก็บของต่างจากนักสะสมอย่างไร 

ความแตกต่างระหว่างนักสะสมกับคนป่วยโรคเก็บสะสมของ สามารถแยกความแตกต่างกันได้ง่ายมาก คือ นักสะสมจะมีเป้าหมายในวัตถุหรือสิ่งของที่สะสม มีการเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และมักจะนำออกมาอวดด้วยความภูมิใจ ในขณะที่คนเป็นโรคชอบสะสมจะเก็บสิ่งของทุกอย่าง ทั้งที่มีประโยชน์และของที่หาประโยชน์ไม่ได้แล้ว เก็บดะไปเรื่อยจนรกเกะกะเต็มรอบบ้าน จนบางคนอาจเรียกว่าเป็นโรคเก็บสะสมขยะ หรือโรคบ้านรก เพราะของที่คนสะสมประเภทนี้เป็นของทั่วไป เช่น ถุงพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดต่าง ๆ เป็นต้น 

โรคเก็บสะสมของ คืออะไร 

โรคชอบเก็บของ คือ อาการทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ชอบเก็บสะสมของไว้ทุกอย่าง ไม่สามารถตัดใจทิ้งได้ เพราะคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติ เนื่องจากการเก็บของที่มากเกินไป เต็มพื้นที่บ้าน ไม่มีที่จะเดิน อาจเกิดอันตรายจากการสะดุดข้าวของล้ม ของหล่นหรือล้มทับ หรืออยู่อาศัยในห้องรก สกปรก และเต็มไปด้วยฝุ่นละอองจนทำให้ป่วยเป็นภูมิแพ้  

 

โรคชอบเก็บของ หรือ โรค Hoarding Disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกบัญญัติในเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช หรือการจำแนกโรคทางจิตเวช DSM 5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental disorders fifth edition) เมื่อ พ.ศ.2556 โดยอาการโรคเสียดายของนี้จะเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว และเมื่ออายุมากขึ้นอาการโรคไม่ชอบทิ้งของก็จะรุนแรงขึ้น  ทำให้ของที่คนชอบสะสมมากขึ้นและล้นบ้านจนแทบไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับคนอาศัย 

อาการโรคเก็บสะสมของเป็นอย่างไร 

 

  • มีความต้องการอยากเก็บสะสมสิ่งของ 
  • เสพติดการซื้อของ – โรคชอบซื้อของ
  • ไม่สบายใจที่จะต้องทิ้งสิ่งของ – โรคไม่ชอบทิ้งของ
  • ยึดติดว่าของทุกชิ้นเป็นของสำคัญ
  • ตัดใจทิ้งสิ่งของไม่ได้ แม้ว่าของนั้นจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้แล้ว  
  • ของที่คนชอบสะสมมักไม่สำคัญ เช่น นิตยสารเก่า หนังสือพิมพ์เก่า กล่องพลาสติกแตก 
  • เก็บของจนบ้านรก สกปรก ที่อยู่อาศัยไม่สะอาด เป็นที่สะสมเชื้อโรค 
  • ไม่อยากพบผู้คน ชอบอยู่ในที่มืด 

โรคเก็บสะสมของ สาเหตุเกิดจากอะไร 

 

สาเหตุโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของนี้ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ 

  • อาการผิดปกติทางบุคลิกภาพ 
  • พันธุกรรม มีญาติทางสายเลือดมีอาการของโรค เช่น แม่ชอบเก็บของ อาจทำให้ติดพฤติกรรมเดียวกัน 
  • มีภาวะสูญเสียรุนแรง 
  • มีภาวะโรควิตกกังวล
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD (Obsessive-Compulsive Disorder) 
  • โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) 
  • มีภาวะสมองได้รับบาดเจ็บหรือสมองเสื่อม (Dementia)
  • โรคซึมเศร้า (Depression)
  • โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning disability)
  • โรคชรา 

โรคเก็บสะสมของรักษามีวิธีรักษาอย่างไร 

สำหรับใครที่เริ่มรู้ตัวว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายจะเป็นโรคชอบเก็บของก็อาจรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการปรับทัศนคติและนิสัยการจัดเก็บของที่จำเป็น แต่กรณีที่เป็นโรคเก็บสะสมของเรื้อรังอาจไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ โดยมีแนวทางการรักษาโรคเก็บสะสมด้วยกัน 2 วิธี คือ 

 

  • ใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressant) ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการวินิจฉัยและอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ โดยทางแพทย์จะให้ยาต้านเศร้า เพื่อลดความเครียดและความหมกมุ่นต่อการสะสมสิ่งของ ซึ่งจะได้ผลมาก-น้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับระยะเวลาอาการที่เป็นมาก่อนได้รับการรักษา 

 

  • พฤติกรรมบำบัด เป็นวิธีรักษาอาการทางจิตที่นิยมใช้และได้ผลพอสมควร โดยจะมุ่งเน้นฝึกทักษะการตัดสินใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการเก็บหรือทิ้งสิ่งของที่มีได้อย่างมีเหตุมีผลเป็นองค์ประกอบ ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและตัดสินใจเลือกที่จะเก็บของที่จำเป็นและทิ้งสิ่งของที่สมควรได้

 

อย่างไรก็ตาม อาการของโรคชอบเก็บสะสมของสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย หากของที่คนชอบสะสมเป็นสิ่งที่ยังใช้ประโยชน์ได้ เก็บรักษาเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้นาน นับว่าเป็นเรื่องที่ดีและเป็นการรู้จักคุณค่าในสิ่งของ แต่ถ้าการเก็บสะสมของเริ่มมากเกินความจำเป็น และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันตามที่กล่าวมาข้างต้น … นั่นหมายความว่า คุณกำลังเป็นโรค Hoarding Disorder อาจต้องลองหาช่องทางปรึกษานักจิตเวชหรือเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับการบำบัดที่เหมาะสม 

You May Also Like

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้างดน้ำตาล 14 วัน

โดยปกติร่างกายต้องการน้ำตาลเพียง 24 กรัม / วัน เท่านั้น หรือประมาณ 4-6 ช้อนชา (เทียบเท่าน้ำผลไม้ประมาณ 200 มิลลิลิตร) แต่ถ้าได้รับปริมาณที่มากไป จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง น้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  น้ำตาลธรรมชาติ ที่ได้จากผัก ผลไม้ต่างๆ (ฟรุกโตส) และน้ำตาลในนม (แล็กโทส) น้ำตาลสังเคราะห์ หรือน้ำตาลที่ปรุงแต่ง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม…
View Post

ภูเขาไฟในไทยจะมีโอกาสปะทุซ้ำหรือไม่ 

จากการเกิดภัยธรรมชาติภูเขาไฟระเบิดของภูเขาไฟตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดควันภูเขาไฟและเถ้าถ่านที่เป็นมลพิษทางอากาศ พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าไปไกลได้ถึงประมาณ 20 กิโลเมตร และเกิดคลื่นสึนามิสูงถึง 15 เมตร ซัดเข้าชายฝั่งของเกาะแมงโก้ ทำให้หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะหายไปแทบทั้งหมู่บ้าน เหตุภูเขาไฟระเบิดผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทั้งเกาะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปช่วงระยะหนึ่ง และอีกหลายประเทศที่ชายฝั่งติดมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับความเสียหายรุนแรงจากภูเขาไฟปะทุลูกนี้ แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดอยู่ห่างจากชายฝั่งของไทยไปประมาณ 9,500 กิโลเมตร แต่ก็ต้องมีการจับตามองและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด  ข่าวการเกิดภูเขาไฟหลายแห่งที่ยังคุกรุ่นอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ “วงแหวนแห่งไฟ” ที่หลายๆคนรู้จักกันดี ซึ่งมากกว่าร้อยละ 75% ของภูเขาไฟทั้งหมดบนโลก…
View Post

รวมอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ สไตล์ล้านนา ลำแต้ๆ

เมนูอาหารภาคเหนือ ที่ใครๆหลายคนชื่นชอบ บางคนอาจคุ้นเคยชื่อเพียงไม่กี่อย่าง แต่ที่จริงแล้ว ยังมีอาหารภาคเหนืออีกหลายเมนูที่น่าลิ้มลอง และอร่อยไม่แพ้อาหารภาคอื่นๆ บทความนี้ได้รวบรวมรายการอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ทั้งที่อาจเคยได้ยิน และไม่เคยได้ยินมาก่อน ให้ทุกคนได้รู้จักและลองไปหาชิมกัน จะได้รู้ว่าอาหารล้านนานั้น ลำขนาด!!  แอ๊บหมู อาหารเหนือท้องถิ่นแต้ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แอ๊บหมู คืออาหารที่นำเนื้อหมูสดผสมกับไข่ไก่ ซึ่งจะต่างจากแอ๊บอาหารเหนือชนิดอื่นๆ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง จากนั้นนำไปทำให้สุกด้วยการย่างไฟ โดยการใช้ไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จอผักกาด แกงผักกาดเหนือ หรือ จอผักกาด อาหารพื้นบ้านล้านนา ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก…
View Post

ชุดปฐมพยาบาล เครื่องมือประจำบ้านและการเดินทาง

เพราะการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดเมื่อไร ดังนั้นการมีชุดปฐมพยาบาลไว้ประจำบ้านและในทุกๆการเดินทาง ไว้สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที จึงจำเป็นที่ควรจะมีไว้อย่างยิ่ง บทความนี้เราจะมารู้ถึงอุปกรณ์และยาที่ควรมีไว้เป็นชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้สักหน่อย แต่ก่อนอื่นเราควรรู้ก่อนว่าการดูแลผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเบื้องต้น จะมี 2F ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ นั่นก็คือ  1.First aid คือ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันที ด้วยความรู้ที่มี และอุปกรณ์ที่หาได้ เพื่อลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ช่วยลดความพิการและให้กลับฟื้นคืนสภาพโดยเร็ว หรือความเจ็บป่วยที่เกิดกระทันหัน ประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ 2.First aid kit คือ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ที่เป็นเครื่องมือจำเป็นไว้รักษาเบื้องต้นกับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ก่อนจะทำการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเราจะเรียกกันง่ายๆว่า…
View Post

ความหมายของแผงสวิตช์คืออะไร

แผงสวิตช์บอร์ด ที่เรามักจะเห็นได้ตามอาคาร ที่พักอาศัยระบบนิติบุคคล ตึกอาคารสูงๆ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจการ หรือรูปแบบอาคารใด ก็ต้องมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วรู้ไหมว่า “แผงสวิตช์” หรือ Switchboard panel ส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้านี้ ทำหน้าที่อะไร และภายในตู้หน้าตาเรียบ ๆ นี้ มีส่วนประกอบอะไรข้างในบ้างนะ
View Post

มิจฉาวณิชชา 5 อาชีพที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำแล้วสร้างบาปติดตัว 

รู้ไหมว่า 5 อาชีพใดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามประกอบเลี้ยงชีพ เพราะจะเป็นการก่อบาปสร้างเวรติดตัว โดยอาชีพต้องห้ามนี้ ทางพุทธศาสนาเรียกว่า มิจฉาวณิชชา คือ อาชีพ 5 อย่าง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้าม ได้แก่  มังสวณิชชา คือ อาชีพค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา หรือเลี้ยงโค กระบือ เพื่อขายหรือส่งต่อไปยังโรงฆ่าสัตว์ เป็นการส่งเสริมให้ผิดศีลข้อ 1 คือ ปาณาติบาติฯ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้ว่าตามหลักศาสนาพุทธเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม…
View Post